สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป[1][2] สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 และ 2501 ตามลำดับ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปภายใต้ชื่อปัจจุบันใน พ.ศ. 2536[3] การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับใน พ.ศ. 2552
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบองค์การอิสระเหนือชาติและการตัดสินใจที่เจรจาระหว่างรัฐบาลโดยรัฐสมาชิก[4][5][6] สถาบันสำคัญของสหภาพยุโรปมีคณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีสหภาพยุโรป สภายุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป พลเมืองสหภาพยุโรปเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปทุกห้าปี
สหภาพยุโรปได้พัฒนาตลาดเดี่ยวผ่านระบบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกรัฐ ในพื้นที่เชงเกิน (รวม 22 รัฐสหภาพยุโรป และ 4 รัฐนอกสหภาพยุโรป) มีการยกเลิกการควบคุมหนังสือเดินทาง[7] นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรี[8] ตรากฎหมายในกิจการยุติธรรมและมหาดไทย และคงไว้ซึ่งนโยบายการค้า[9] เกษตรกรรม[10] การประมงและการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน[11]ยูโรโซน ซึ่งเป็นสหภาพการเงิน ได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 และประกอบด้วยรัฐสมาชิก 17 ประเทศ สหภาพยุโรปได้พัฒนาบทบาทในความสัมพันธ์ภายนอกและการป้องกันผ่านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงร่วม มีการสถาปนาคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลก มีผู้แทนของสหภาพยุโรปที่สหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี 8 และจี 20
โดยมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน[12] หรือ 7.3% ของประชากรโลก[13] ใน พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงินใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 17.6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 20% ของจีดีพีโลก เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[14]
ในปี พ.ศ. 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ[15] จากผลงานด้านการผลักดันให้เกิดสันติภาพในยุโรป
การปกครอง
แม้สหภาพยุโรปจะเป็นการรวมกลุ่มของรัฐหรือเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่โครงสร้างของสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะ "เหนือชาติ" (supranational trait) อย่างชัดเจน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบรรดารัฐสมาชิกไม่เพียงรวมตัวกันเท่านั้น หากยังร่วมสร้างสรรค์สถาบันหรือหน่วยงานภายใน ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ อันประกอบไปด้วย สภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ดังรายละเอียดต่อไปนี้
คณะมนตรียุโรป
เป็นการประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อกำหนดทิศทางทางการเมืองและนโยบายสำคัญๆ ของสหภาพยุโรป ประกอบไปด้วยประธานคณะมนตรียุโรปเป็นประธาน ปัจจุบันคือนายโดนัลด์ ทัสค์ (มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และตัวแทนประเทศสมาชิกละ 1 คน (ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าคณะรัฐบาล) มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่เดียวกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการยุโรป
คณะกรรมาธิการเป็นตัวแทนและปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป โดยเป็นอิสระจากรัฐบาลของแต่ละชาติ คณะกรรมาธิการประกอบด้วยกรรมาธิกร 28 คนจากแต่ละประเทศสมาชิกตามความเชี่ยวชาญโดยจะทำงานร่วมกับข้ารัฐการราว 24,000 คน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประธานคณะกรรมาธิการจะได้รับการเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจะต้องได้รับการรับรองจากสภา ส่วนกรรมาธิการคนอื่น ๆ จะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสมาชิกและต้องได้รับการรับรองจากสภาเช่นกัน มีวาระคราวละ 5 ปี โดยประธานคณะกรรมาธิการคนปัจจุบันคือ นายฌอง-โคลด ยุงเคอร์
ภารกิจหลักของคณะกรรมาธิการคือการเสนอร่างกฎหมาย นอกจากนั้นยังดูแลการบริหารงบประมาณของสหภาพยุโรป กรรมาธิการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบคนละด้าน แต่ละคนมีเจ้าหน้าที่และองค์กรย่อยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตน เปรียบเทียบได้ว่ากรรมาธิการแต่ละคนคือรัฐมนตรีซึ่งต้องดูแลกระทรวง ทบวง กรมของตนนั่นเอง
สมาชิกรัฐสภายุโรปได้รับเลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 5 ปีจากแต่ละประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 751 คนจาก 28 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเกือบหนึ่งในสาม (222 คน) แม้สมาชิกแต่ละคนจะมาจากรัฐสมาชิก แต่การจัดกลุ่มภายในรัฐสภานั้นไม่ได้แบ่งตามสัญชาติ แต่แบ่งโดยทิศทางของพรรคการเมือง กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ พรรคประชาชนยุโรป (European’s People Party) และพรรคประชาธิปไตยยุโรป (European Democrats) ตามมาด้วยกลุ่มสังคมนิยม เสรีนิยม และอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม (กรีน) ที่ทำการสภายุโรปตั้งอยู่ในสองเมืองคือ สทราซบูร์ (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส และบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยประธานสภาคนปัจจุบันคือนายมาร์ติน ชูลซ์ จากพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี
ภารกิจหลักของสภายุโรปจะเป็นการร่วมตัดสินใจกับคณะมนตรีในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การพิจารณาร่างกฎหมายของสหภาพซึ่งริเริ่มโดยคณะกรรมาธิการ การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป ให้การรับรองความตกลงระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปกับประเทศนอกกลุ่ม และที่สำคัญที่สุดคือการให้การรับรองผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการยุโรป
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
สมาชิกคณะมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศสมาชิก ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเรื่องนั้นๆ เข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 28 คน เช่น การต่างประเทศ เกษตรกรรม คมนาคม เศรษฐกิจและการเงิน และพลังงาน เป็นต้น หากเป็นการประชุมตัดสินใจประเด็นสำคัญๆ ก็จะเป็นการประชุมในระดับประมุขของประเทศ โดยจะมีการประชุมสุดยอดสี่ครั้งต่อปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรป แต่ละประเทศจะมีเสียงโหวตแตกต่างกันตามสัดส่วนจำนวนประชากร การตัดสินใจส่วนใหญ่ใช้แบบเสียงข้างมาก ในขณะที่ประเด็นสำคัญจะใช้ระบบการโหวตแบบเอกฉันท์
คณะมนตรีถือเป็นองค์กรหลักในด้านนิติบัญญัติและด้านการตัดสินใจชี้ขาดของสหภาพยุโรป โดยจะประสานงานกับรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน (CFSP: Common Foreign and Security Policy) รวมถึงภารกิจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้า บริการ เงินทุน รวมถึงประชาชนด้วย
สหหภาพยุโรป ( European Union: EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)
สหภาพยุโรปมีอิทธิพลสูงต่อเวทีโลก เนื่องด้วยมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คิดเป็นกว่า 30% ของโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
สหภาพยุโรป (The European Union)
ความเป็นมาของศัพท์ “สหภาพยุโรป”
ศัพท์คำว่า สหภาพยุโรป นั้น ปรากฏอย่างเป็นทางการในที่ประชุมสุดยอดของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกประชาคม ยุโรป ณ กรุงปารีส ในปี ค.ศ 1972 โดยที่ประชุมในครั้งนั้นได้ตั้งจุดมุ้งหมายเอาไว้ว่า จุดหมายหลักคือการพัฒนาด้วยความเคารพและยึดมั่นในสนธิสัญญาที่ประเทศสมาชิก ได้ลงนามไว้ ในอันที่จะกระทำความสัมพันธ์อันซับซ้อนทั้งมวลระหว่างประเทศให้กลายเป็น สหภาพยุโรป ต่อมาได้มีการระบุแนวความคิดดังกล่าวไว้ในบทอารัมภกถาของสัญญาจัดตั้งตลาด เดียวแห่งยุโรป แต่ไม่ปรากฏในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป โดยมาตรา A ของสนธิสัญญาดังกล่าวได้ระบุข้อความที่เกี่ยวกับสหภาพไว้แทนที่ว่า สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสัญญาลักษณ์ของก้าวใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์สหภาพที่ มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ของประชาชาติยุโรป โดยการตัดสินใจใดๆ ของสหภาพจะกระทำใกล้ชิดกับเมืองของยุโรปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกระบวนการดังกล่าวนี้ สหภาพควรจะจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างประขาชาติยุโรปให้แสดงถึงความมีเอกภาพ และความเป็นปึกแผ่น
อย่างไรก็ดี ความพยายามในการกำหนดรูปแบบของสหภาพยุโรปอย่างชัดเจนทั้งจากแวดวงการเมือง และจากนักวิชาการประสบความสำเร็จอยู่ในวงจำกัด การตรวจสอบความหมายของคำว่า สหภาพ หรือจุดมุ้งหมายกันตามแบบของนักวิชาการยังไม่รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ ในทางการเมือง ดังจะเห็นได้จาก คำประกาศแห่งสตุตการ์ท ค.ศ 1986 ซึ่งมีการระบุไว้เพียงจุดมุ้งหมายทั่วไปในการบรรลุถึงการเป็นสหภาพยุโรป อาทิเช่น หลักการประชาธิปไตยและการเคารพในกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น มีข้อสังเกตว่า ในเอกสารทั้ง2ฉบับได้ว่างแนวทาง 2 ในการพัฒนาสหภาพยุโรปไว้ กล่าวคือประเทศสมาชิกจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงการเป็นสหภาพยุโรปโดยอาศัย หลัก2ประการคือ
- หลักของประชาคมยุโรปที่ทำงานไปตามระเบียบของตนเอง และ
- หลักความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิก
จะเห็นได้ว่าหลักการดังกล่าวเหล่านี้ชี้ชัดว่า พัฒนาการของประชาคมยุโรปจะดำเนินควบคู่กันไประหว่างการบูรณาการและความร่วม มือระหว่างรัฐบาลชาติสมาชิกรูปแบบเดียวกันนี้ ปรากฏอยู่ในมาตรา A ของสนธิสัญญามาสทริกท์ ซึ่งระบุว่าสหภาพยุจะก่อตั้งขึ้นบนรากฐานของประชาคมยุโรป ซึ่งเพิ่มด้วยนะโยบายและรูปแบบที่จัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาฉบับนี้ นอกจากนี้แนวคิดเกี่ยวกับสหภาพยุโรปอีกประการหนึ่งคือ แนวคิดเรื่อง ระบบสหพันธ์ ยังปรากฏอยู่ในร่างสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป ค.ศ 1984 ทั้งนี้ในร่างฉบับดังกล่าวได้รัฐสภายุโรปมีบทบาทในการวางหลักการจุดมุ้งหมาย และกำหนดนิยามของสถาบันต่างๆ ของสหภาพยุโรปตามแนวทางของสหพันธืนิยม อย่างไรก็ดีรูปแบบของ Spinelli ดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นแบบอย่างของสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ 1993
หลังจากที่การให้สัตยาบันสนธิสัญญามาสทริกท์ประสบกับปัญหาต่างๆ ในประเทศสมาชิกหลายประเทศ ทำให้เกอดเสียงิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิดแบบสหพันธ์นิยม การให้คำนิยามสภาพยุโรปว่าเป็นสมาคมของรัฐสมาชิกโดยศาลรับธรรมนูญของเยอรมนี ในคำพิพากษาว่าด้วยสนธิสัญญามาสทริกท์ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ 1993 นั้น แม้ว่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้มากมายก็ตาม แต่ก็มีผลในแนวคิดใหม่การอภิปรายเกี่ยวกับขอบเขตของการรวมยุโรป และสหภาพยุโรป
สนธิสัญญามาสทริกท์ว่าด้วยสหภาพยุโรป
ในปี ค.ศ 1991 ที่ประชุมสุดยอดของประชาคมยุโรป ณ เมืองมาสทริกท์ได้วางแนวคิวสหภาพยุโรปไว้ในสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่1 พฤศจิกายน ค.ศ 1993 โดยทั่วไป สนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปที่ได้รับการลงมติอนุมัติจากคณะมนตรียุโรปหรือ ที่ประชุมสุดยอดยุโรปนี้เป็นการรวมเอาข้อกำหนดในทางกฎหมายของนโยบายด้าน ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ สหภาพยุโรปจะประกอบด้วยสถาบันเสาหลัก3สถาบัน
- ประชาคมยุโรป ซึ่งประกอบด้วย สหภาพศุลกากร ตลาดเดียวแห่งยุโรป นโยบายร่วมด้านการเกษตร นโยบายด้านโครงสร้างและสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
- นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง
- ความร่วมมือในด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภาย ใน
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่ปรากฏในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้
1 มาตรการทั่วไป
2 ส่วนแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เพื่อจัดตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งรวมถึงสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน และความเป็นผลเมืองของสหภาพยุโรป
3 นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง
4 ความร่วมมือในด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน
5 มาตราสรุป
6 อนุสัญญาและพิธีการที่สำคัญต่างๆ อันเกี่ยวกับการสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายด้านสังคม คำอธิบายเกี่ยวกับ CFSP และเอกสารประกอบที่ประเทศสมาชิกจัดทำเกี่ยวกับ สหภาพยุโรปตะวันตก
วัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรปและหลักการ Subsidiarity
วัตถุประสงค์โดยความร่วมของสหภาพยุโรปเป็นการวางแผนแนวนโยบายต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีกรอบทางสถาบันมารองรับ วัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรปมีดังนี้
- มาตราB ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรประบุ สหภาพยุโรปมีจุดมุ้งหมายที่จะเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมดุล และยั่งยืน โดยการสร้างภูมิภาคที่ไม่มีพรมแดนภายในระหว่างกัน และการเพิ่มความเป็นปึกแผ่นในทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งในที่สุดแล้วจะบรรลุถึงการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน
การขยายตัวของสหภาพยุโรป (Enlargement)
สนธิสัญญาที่ให้อำนาจทางกฎหมาย : บท อารัมภกถา มาตรา O และ F1 ของสนธิสัญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (The Treaty on European Union) และมาตรา 3 (a) (1) ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป (The EC Treaty)
ประเทศที่ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิคของสหภาพยุโรป : ประกอบด้วยประเทศจากยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก 10 ประเทศ และประเทศอื่น ๆ อีก 4 ประเทศ ดังต่อไปนี้
ฮังการี (ยื่นใบสมัครเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1994) โปแลนด์ (5 เมษายน ค.ศ. 1994) โรมาเนีย (22 มิถุนายน ค.ศ. 1995) ลัตเวีย (27 ตุลาคม ค.ศ. 1995) เอสโทเนีย (28 พฤศจิกายน ค.ศ.1995) ลิธัวเนีย (8 ธันวาคม ค.ศ. 1995) บัลแกเรีย (14 ธันวาคม ค.ศ. 1995) สาธารณรัฐเช็ก (17 มกราคม ค.ศ. 1996) สโลวิเนีย (10 มิถุนายน ค.ศ. 1996) ตุรกี (14 เมษายน ค.ศ. 1987) ไซปรัส (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1990) มอลตา (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1990) และสวิตเซอร์แลนด์ (20 พฤษภาคม ค.ศ. 1992)
ที่ประชุมสุดยอดยุโรป ณ กรุงมาดริด ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 ได้กล่าวถึงการรับสมาชิกเพิ่มของสหภาพยุโรปไว้ว่า “เป็นทั้งความจำเป็นในทางการเมืองและเป็นโอกาศที่สำคัญยิ่งของยุโรป” ในปี ค.ศ. 1996 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้รับใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจากประเทศ ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 ประเทศซึ่งประกอบด้วยประเทศจากยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก 10ประเทศ และประเทศอื่น ๆ อีก 4 ประเทศ คือ ตุรกี ไซปรัส มอลตา และสวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่คระกรรมาธิการยุโรปไม่เห็นด้วยกับการรับตุรกีเข้าเป็นสมาชกเมื่อวัน ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1989 แต่กลับมีความเห็นยอมรับใบสมัครของไซปรัสและมอลตาในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1993 สำหรับแนวโน้มการรับสวิตเซอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกนั้นยังคงชะงักงันเนื่อง จากขาวสวิสได้ลงประชามติไม่เข้าร่วมใน “เขตเศรษฐกิจยุโรป” (The European Economic Area) เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1992 ในการนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้หารือกันถึงการรับประเทศที่ได้ทำ “ข้อตกลงยุโรป” (Europe Agreement) กับสหภาพยุโรปเข้าเป็นสมาชิกก่อน ฉะนั้น การพิจารณารับประเทศกลุ่มนี้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปนี้เองจึงได้กลาย เป็นหัวใจสำคัญของนโยบายการรับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในเวลานั้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 ที่ประชุมสุดยอดยุโรปที่เมืองฟลอเรนซ์ได้ระบุว่า การเจรจารับสมาชิกรอบแรกที่จะทำกับกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกจะ มีขึ้นพร้อม ๆ กับการเจรจารับไซปรัสเป็นสมาชิก คือ ในเวลา 6 เดือนหลังจากการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสิ้นสุดลง การประชุมระหว่างรัฐบาลดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่ง คือเพื่อเตรียมสหภาพยุโรปให้สามารถรองรับการมีสมาชิกเพิ่มขึ้นในระดับ 20-25 ประเทศ ทั้งนี้โดยการปฏิรูปกระบวนการตัดสินใจและโครงสร้างทางด้านสถาบันให้พัฒนา ขึ้น ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพ ความแน่นอน และความชอบธรรม
บรรดาประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกต่างก็มองว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ สหภาพยุโรปนั้น จะเป็นหนทางไปสู่การสร้างความมั่นคงและเป็นการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประเทศ ของตนให้ทันสมัย อันจะเป็นผลให้การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและระบบ เศรษฐกิจแบบตลาดเสรีเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปเองก็มองเห็นความสำคัญของการรับยุโรปตะวันออกเข้า เป็นสมาชิก เพราะเชื่อว่าการสถาปนาหลักการทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบยุโรปตะวันตกให้แก่ ประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปตะวันออกจะเป็นผลดีในระยะยาว สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับประโยชน์ในทางการเมืองดังกล่าวมากกว่าประโยชน์ใน ทางเศรษฐกิจ คือ การขยายตลาดเดียวแห่งยุโรป ดังนั้นเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงสหภาพยุโรปจึงพบว่าตนเองจำเป็นต้องมีบทบาท สำคัญในการเผยแพร่โครงสร้างทางสังคมอันมีรากฐานอยู่บนความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรื่อง ความเสมอภาคทางสังคม และความเป็นประชาธิปไตย ให้ขยายไปทั่วทวีปยุโรป การขยายตัวของสหภาพยุโรปไปทางตะวันออกจะมีผลกระทบต่อนโยบายการรักษาความมั่น คงเมื่อคำนึงถึง รัสเซีย อย่างไรก็ดี การขยายตัวโดยรับยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกนั้น นอกจากมีผลกระทบต่อความเห็นพ้องต้องกันของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในเรื่อง ของการบูรณาการยุโรปแล้ว ยังเป็นการทดสอบว่าประเทศเหล่านี้จะมีความสามารถในการปฏิรูปมากน้อยเพียงใด อีกด้วย ความท้าทายครั้งสำคัญนี้ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้รูปแบบการรับสมาชิกใหม่ ที่สหภาพยุโรปตะวันออกต้องมีระดับการบูรณาการที่พอสมควรเสียก่อนจึงจะสามารถ รับเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ ด้วยเหตุนี้สหภาพยุโรปจึงได้ประกาศที่จะดำเนินการควบคู่กันไปทั้งในการ บูรณาการทางลึกและการรับสมาชิกใหม่ เป้าหมายของสหภาพยุโรปคือการประสานกลยุทธ์เตรียมการเข้าเป็นสมาชิก (Pre-Accession Strategy) รวมทั้งการเจรจารับประเทศยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิก ให้เข้ากับแนวทางของ “แผนการดำเนินงานปี ค.ศ. 2000” (Agenda 2000) ซึ่ง ประกอบไปด้วยผลสรุปของการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกในช่วงปี ค.ศ. 1996-1997 การปฏิรูประบบงบประมาณจากแหล่งเงินทุนของสหภาพยุโรปเอง การปฏิรูปนโยบายโครงสร้าง นโยบายการสร้างเอกภาพ และนโยบายร่วมด้านการเกษตร การดำเนินการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินในขั้นตอนที่สาม และอนาคตของ “สหภาพยุโรปตะวันตก” (WEU) เป็นต้น อย่างไรก็ดี การรับสมาชิกใหม่จากยุโรปตะวันออกอาจนำมาสู่ความขัดแย้งในเรื่องการจัดสรร ประเทศที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสร้างเอกภาพ (Cohesion Fund) และประเทศผู้ให้เงินช่วยภายในของสหภาพยุโรป และอาจนำทางให้ทางเลือกในการบูรณาการยุโรปจำกัดวงแคบขึ้น นอกจากนี้อาจนำไปสู่การถกเถียงกันในเรื่องรูปแบบต่าง ๆ ของการบูรณาการยุโรป การมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น หรือการเปลี่ยนศูนย์กลางในทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในของสหภาพยุโรป เป็นต้น
ประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกนั้นได้ดำเนินการใน 4 แนวทางที่มีความเชื่อมโยงกันในการบรรลุเป้าหมายเพื่อให้ได้เข้าเป็นสมาชิก ของสหภาพยุโรปดังนี้คือ
- ดำเนินการตามข้อบังคับที่ปรากฏอยู่ในข้อตกลงยุโรปซึ่งเป็นข้อตกลง แบบทวิภาคี และใช้โอกาสในการสร้างความร่วมมือและการจัดตั้งระบบคู่เจรจา
- ดำเนินการตามโครงการของแต่ละประเทศในการปรับโครงสร้างตามที่ระบุไว้ใน “สมุดปกขาว” (White paper) ของสหภาพยุโรป เพื่อเตรียมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดเดียวแห่ง ยุโรป
- เข้าร่วมในการดำเนินความสัมพันธ์กับสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป เช่น ในกิจกรรมและนโยบายต่าง ๆ ของสถาบันที่เป็นเสาหลักทั้งสามของสหภาพ นอกจากนี้ประเทศยุโรปตะวันออกยังสามารถเข้าร่วมการเจรจาแบบพหุภาคีต่างๆ ของสหภาพยุโรปได้เป็นครั้งคราว
- การดำเนินการสมัครเป็นสมาชิกซึ่งเริ่มขึ้นด้วยการยื่นใบสมัคร และปฏิบัติตนตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ฐานทางกฎหมายและกระบวนการรับสมาชิกใหม่โดยทั่วไป
แนวคิดการมีโครงสร้างแบบเปิดให้มีการขยายตัว รับสมาชิกได้นั้น ถือเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานของประชาคมยุโรปมาตั้งแต่แรกก่อตั้งแล้ว ด้วยเหตุนี้ สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปจึงได้ระบุไว้ว่า “...ประเทศใดก็ได้ในทวีปยุโรปสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนี้” ในขณะที่มาตรา 237 ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และมาตรา 205 ของสนธิสัญญา EAEC ก็ได้แสดงถึงแนวคิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปจึงถูกแทนที่ด้วยมาตรา O ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป มาตราดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า “รัฐยุโรปทุกรัฐสามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพได้” อย่างไรก็ดี การมีคุณสมบัติในทางกายภาพคือ การเป็นรัฐหรือประเทศในทวีปยุโรปอย่างเดียวยังไม่นับว่าเป็นการเพียงพอ เนื่องจากมาตรา F อันเป็นมาตราใหม่ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปได้ระบุไว้ว่า “ประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจะต้องมีระบอบการเมืองแบบ ประชาธิปไตย” อนึ่ง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา ที่ประชุมสุดยอดยุโรปยังได้ระบุถึงหลักการดังกล่าวไว้ใน “คำประกาศว่าด้วยประชาธิปไตย” (Declaration on Democracy) อีกด้วย นอกจากนี้ในมาตรา 3a (1) ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรปยังระบุว่า ประเทศสมาชิกและประชาคมจะใช้นโยบายเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจแบบ ตลาดเสรีซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างเสรีแต่กระนั้น ประเทศที่มีเงื่อนไขครบดังกล่าวมาข้างต้นก็ยังไม่มีสิทธิทางกฎหมายพอที่จะ เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการตัดสินใจรับสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้นเป็นเรื่องทางการ เมืองซึ่งอยู่ในอำนาจของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และประเทศสมาชิกร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้น มาตรา N ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปยังได้ให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิโดยไม่จำกัดใน การเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญา ซึ่งรวมไปถึงเงื่อนไขในการรับสมาชิกใหม่ด้วย ด้วยเหตุนี้กระบวนการรับสมาชิกใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นมาในทางปฏิบัติเป็นเวลาหลาย ปี จึงมีความซับซ้อนกว่าที่ระบุไว้ในมาตรา O ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปมากนัก
กระบวนการรับสมัครสมาชิกของสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้ :
ขั้นแรก ประเทศ ในทวีปยุโรปที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจะต้องยื่นใบสมัครต่อคณะ มนตรีแห่งสหภาพยุโรป เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของตนการประกาศแสดงเจตนารมณ์แต่เพียงฝ่ายเดียวดัง กล่าวนี้สามารถถอนคืนโดยประเทศที่ส่งใบสมัครได้ทุกเวลาก่อนที่จะมีการให้ สัตยาบันการขอเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยรัฐสภาของประเทศผู้สมัคร ดังเช่นในกรณีของ นอรเวในปี ค.ศ. 1994 เป็นต้น
ขั้นที่สอง ต่อมาคณะ กรรมาธิการยุโรปจะเป็นผู้พิจารณาถึงโอกาสในการเข้าเป็นสมาชิกและปัญหาต่าง ๆ ในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของประเทศที่ยื่นใบสมัครจากนั้นจะส่งความเห็น ดังกล่าวไปยังคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
ขั้นที่สาม เป็นขั้นตอนที่คณะมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยระบบการลงคะแนนเสียงข้างมาก ว่าจะเปิดการเจรจากับประเทศผู้สมัครหรือไม่ ทั้งนี้โดยอาศัยเงื่อนไขตามมาตรา O ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป
ขั้นสุดท้าย เป็นการนำกระบวนการรับสมาชิกใหม่ตามมาตรา O มาใช้ปฏิบัติกล่าวคือ
- คณะมนตรีรับความเห็นอันเป็นข้อสรุปของคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการ รับประเทศผู้สมัครเป็นสมาชิก แต่ความคิดเห็นดังกล่าวไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย
- คณะมนตรีลงมติด้วยการลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าจะรับหรือไม่รับประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก
- ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปจะเป็นผู้ลงมติในเรื่องสนธิสัญญาเข้าเป็น สมาชิกของสหภาพในรายละเอียด และในเรื่องรายละเอียดเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกของประเทศผู้ สมัครเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา O อาทิเช่น เงื่อนไขที่ใช้วัดความพร้อมของประเทศผู้สมัครในระยะการปรับตัว ซึ่งอาจอนุญาตให้ประเทศผู้สมัครละเว้นการปฏิบัติตามสนธิสัญญาของสหภาพยุโรป ได้เป็นระยะเวลาชั่วคราว เป็นต้น ข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกภาพดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขเพิ่ม เติมสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับองค์กรของประชาคมยุโรป
- ในระหว่างที่การเจรจาระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศผู้สมัครดำเนินไป นั้น รัฐสภายุโรปจะต้องได้รับแจ้งให้ทราบถึงความเป็นไปของการเจรจา และรัฐสภายุโรปจะต้องมีมติยอมรับประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ด้วยวิธี การลงคะแนนเสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ (Absolute Majority) จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด
- สนธิสัญญาการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (The Treaty of Accession) ถือว่าอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงต้องมีการให้สัตยาบันโดยประเทศที่ร่วมลงนามทั้งหมดตามที่กฎหมายรัฐ ธรรมนูญของแต่ละประเทศได้กำหนดไว้
- เมื่อกระบวนการให้สัตยาบันเสร็จสมบูรณ์จึงถือได้ว่ากระบวนการรับสมาชิกใหม่ได้เสร็จสิ้นลง
เมื่อสนธิสัญญาเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเริ่มมีผลบังคับใช้ ประเทศสมาชิกใหม่ก็จะกลายเป็นภาคีของสนธิสัญญาทุกฉบับของประชาคม/สหภาพยุโรป ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งจะได้รับสิทธิและมีหน้าที่ในฐานะประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป นอกจากนี้แม้ว่าจะมีการขยายตัวเพื่อรับสมาชิกใหม่แต่สหภาพยุโรปก็ยังมีฐานะ เป็นนิติบุคคล ดังนั้นเมื่อประเทศใดเข้าเป็นสมาชิกแล้วกฎหมายของสหภาพยุโรปก็จะมีผลบังคับ ใช้ในประเทศสมาชิกใหม่นั้นด้วย
เงื่อนไข กระบวนการ และทางเลือกในการรับสมาชิกใหม่จากยุโรปตะวันออก
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1993 ที่ประชุมสุดยอดยุโรป ณ กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการขยายตัวของสหภาพยุโรปเพื่อรับประเทศในยุโรป ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิก ได้วางเกณฑ์ในการรับสมาชิกไว้เพื่อให้คณะกรรมาธิการยุโรปคำนึงถึงในการเสนอ ความคิดเห็นไปยังคณะมนตรีเกี่ยวกับประเทศผู้สมัครเกณฑ์ดังกล่าวถือว่าเป็น เงื่อนไขเบื้องต้นในทางการเมืองและเศรษฐกิจสำหรับการพิจารณารับสมาชิกใหม่ แต่ไม่ได้ถือเป็นหลักเกณฑ์ในการวัดความเหมาะสมของประเทศผู้สมัครอย่าง ละเอียด “เกณฑ์โคเปนเฮเกน” กำหนดให้ประเทศที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้คือ
- มีการปกครองและสถาบันในระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ(อาทิเช่น การเคารพในหลักกฎหมาย มีระบบการเมืองแบบหลายพรรค เป็นต้น) เคารพในหลักสิทธิมนุษยชน มีการปกป้องชนกลุ่มน้อย และมีสังคมแบบพหุนิยม
- มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่สามารถรองรับความกดดันและการแข่งจันภายในตลาดเดียวแห่งยุโรปได้
- สามารถปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ดังที่กำหนดไว้ในกฎหมายของสหภาพยุโรป
- ยึดถือเป้าหมายในการบรรลุความเป็นสหภาพทางการเมืองและสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป
- สหภาพยุโรปจะต้องสามารถรับสมาชิกใหม่ดังกล่าวได้โดยที่จะไม่ก่อให้ เกิดการสูญเสียแรงผลักดันของการบูรณาการยุโรปไป เงื่อนไขในข้อนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของสหภาพยุโรปที่จะรักษาระดับ การบูรณาการที่บรรลุแล้วไว้พร้อม ๆกับการรักษาแนวโน้มในการบูรณาการยุโรปในระดับต่อไปนี้ ด้วยเหตุนี้ มติที่สหภาพยุโรปยอมรับในหลักการให้มีการรับสมาชิกจากประเทศในกลุ่มยุโรป ตะวันออก จึงประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
ต่อมาในการประชุมที่กรุงมาดริด คณะมนตรียุโรปได้กล่าวถึงความจำเป็นในการกำหนดเงื่อนไขในการบูรณาการประเทศ ในยุโรปตะวันออกที่ได้ทำข้อตกลงรวมกลุ่มกับสหภาพยุโรปไว้แล้วเพื่อให้เข้ามา อยู่ในสหภาพได้อย่างราบรื่นและมีความก้าวหน้าด้วยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบ ตลาด การปรับโครงสร้างในการบริหาร รวมทั้งการสร้างสถานภาพทางเศรษฐกิจและการเงินที่มีเสถียรภาพ เป็นต้น กลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในการเข้าเป็น สมาชิกของสหภาพยุโรปดังกล่าวนี้ได้รับความเห็นชอบในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1994 โดยมีการเน้นที่มาตรการในการให้ความช่วยเหลือกระบวนการปรับตัวของกลุ่ม ประเทศยุโรปตะวันออก อาทิเช่น การให้ความช่วยเหลือโดยผ่านทางโครงการ PHARE (Poland and Hungary : Aid for Economic Restructuring) และการใช้กระบวนการปรับตัวตามที่ระบุไว้ในสมุดปกขาว (White Paper)
ในการพิจารณาใบสมัครของประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกแต่ละรายนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำการประเมินคุณสมบัติของประเทศผู้สมัครในแง่ของความ สามารถในการปรับหรือผสมกลมกลืนกฎหมายของประเทศตนให้สามารถนำระเบียบข้อ บังคับและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของกิจกรรมในทุกภาคของสหภาพยุโรปไปปฏิบัติได้เมื่อพิจารณาแล้วคณะกรรมาธิการ ยุโรปก็จะลงความเห็น พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะดำเนินการเจรจาเช่นไรกับประเทศผู้สมัคร โดยทั่วไปสิ่งสำคัญก็คือ การประเมินความก้าวหน้าในการปรับตัวของประเทศผู้สมัครก่อนจะเข้าเป็นสมาชิก ของสหภาพยุโรป ทั้งในด้านสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และในด้านการพัฒนาความคิดเกี่ยวกับวิถีทางแบบประชาคมของสหภาพยุโรป ความเห็นดังกล่าวของคณะกรรมาธิการจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงครึ่งหลัง ของปี ค.ศ. 1997 หลังจากการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเสร็จสิ้นลงแล้ว จากนั้นก็จะได้มีการเปิดการเจรจารับสมาชิกใหม่ในปี ค.ศ. 1998
ในการจัดทำร่างความคิดเห็นนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะอาศัยข้อมูลจากประเทศผู้สมัครเป็นหลัก โดยแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือ ใบตอบแบบสอบถามที่ประเทศผู้สมัครส่งกลับมายังคณะกรรมาธิการยุโรปในปลายเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1996 รวมทั้งใบตอบคำถามเพิ่มเติมต่าง ๆ อนึ่ง การเจรจาหารือระหว่างคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศผู้สมัครก็สามารถให้ข้อมูล ในรายละเอียดเกี่ยวกับประเทศผู้สมัครแต่ละประเทศได้ด้วย นอกจากนี้ภายใต้การชี้นำของที่ประชุมสุดยอดยุโรปที่กรุงมาดริด คณะกรรมาธิการยุโรปจะต้องจัดทำรายงานและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ ซึ่งรวมถึงรายงานการศึกษาในรายละเอียดของผลกระทบที่การรับสมาชิกใหม่จะมีต่อ นโยบายต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายร่วมด้านการเกษตร และนโยบายด้านโครงสร้าง (นโยบายภูมิภาค) อนึ่งข้อมูลหลักที่คระกรรมาธิการยุโรปจะต้องทำการศึกษายังเกี่ยวข้องกับความ สำคัญที่การเกษตรมีต่อตลาดแรงงาน และระบบเศรษฐกิจของประเทศยุโรปตะวันออกทั้ง 10 ประเทศ (ภาคเกษตรกรรมในยุโรปตะวันออกคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของ GDP และเป็นร้อยละ 26.7 ของจำนวนแรงงาน ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมของสหภาพยุโรปเป็นจำนวนเพียงร้อยละ 2.5 ของ GDP และร้อยละ 5.7 ของจำนวนแรงงานเท่านั้น) ดังนั้นการเพิ่มความต้องการในภาคเกษตรกรรมดังกล่าวที่ประเมินไว้ที่ 12 พันล้านอีซียูอาจไม่มีผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายร่วมด้านการเกษตร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในด้านค่าใช้จ่าย หากว่านโยบายด้านโครงสร้างและการสร้างเอกภาพในสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้กับ บรรดาสมาชิกใหม่เหล่านี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีอัตรา GDP เพียงแค่ร้อยละ 30 ของอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป ทำให้มีคุณสมบัติที่จะรับเงินช่วยเหลือตามนโยบายสร้างเอกภาพ (Cohesion Policy) ดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปยังได้จัดทำร่างเอกสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ โดยศึกษาเกี่ยวกับเรื่องลักษณะและระยะเวลาของการปรับตัวของสมาชิกใหม่รวม ทั้งเรื่องแนวโน้มของพัฒนาการในอนาคตของกลยุทธ์ก่อนการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ (Pre-accession) ในบริบทของแนวคิดทางกลยุทธ์แบบรวบยอดทั้งหมดในทันทีที่การประชุมระหว่าง รัฐบาลของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเสร็จสิ้นลง คณะกรรมาธิการยุโรปก็จะเสนอกรอบทางการเงินในอนาคตของสหภาพยุโรปโดยคำนึงถึง การรับสมาชิกใหม่ด้วย ความวิตกกังวลของประเทศสมาชิกผู้รับเงินช่วยเหลือของสหภาพยุโรปและปริมาณการ ขาดดุลงบประมาณของแต่ละประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ไขระเบียบด้าน การเงินของสหภาพยุโรปที่จะมีขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เป็นกระบวนการที่ยากลำบากที่สุดของสหภาพยุโรปในการปรับตัวเพื่อรับสมาชิก ใหม่ ดังนั้นความรวดเร็วในการขยายตัวเพื่อรับสมาชิกใหม่จากยุโรปตะวันออกจะขึ้น อยู่กับมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยชดเชยในด้านการเมืองและการเงิน รวมทั้งการสร้างดุลแห่งอำนาจใหม่ในสหภาพยุโรปว่าจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพียงใดนั่นเอง
ประมาณ 6 เดือนหลังจากที่ประชุมระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปสิ้นสุดลง แล้ว คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปก็จะลงมติตัดสินใจว่าจะเริ่มการเจรจารับสมาชิกใหม่ เมื่อใด ทั้งนี้โดยดูจากรายงานความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการยุโรปและผลของการประชุม ระหว่างรัฐบาล คณะมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าประเทศใดในกลุ่มยุโรปตะวันออกควรจะเข้าการ เจรจาในรอบแรก ในกรณีนี้สหภาพยุโรปมี ทางเลือก 2 ทาง คือ ทางแรก ได้แก่ การเปิดการเจรจากับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกโดยทำการเจรจาแบบเป็นกลุ่มรวม ทั้ง 10 ประเทศพร้อม ๆ กัน แต่การเสร็จสิ้นของการเจรจาก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพความพร้อมของแต่ละประเทศ ส่วน ทางเลือกประการที่สอง คือการเลือกเปิดการเจรจากับประเทศที่มีความเปราะบางทางการเมืองแต่สามารถ จัดการได้ง่ายกว่าก่อน ดังนั้น สหภาพยุโรปก็จะเปิดการเจรจากับบางประเทศในกลุ่มประเทศผู้สมัครทั้งสิบก่อน ประเทศที่เหลือจะเข้าร่วมการเจรจารับสมาชิกใหม่ในรอบต่อ ๆ ไป ทางเลือกประการที่สองนี้เป็นทางเลือกที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับความพร้อมที่ แตกต่างกันของประเทศของประเทศผู้สมัครอย่างชัดเจน พร้อมกันนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างจำกัดของ สภาพยุโรปในการรองรับสมาชิกใหม่ด้วย อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปจะต้องไม่มองข้ามภัยที่อาจเกิดจากการชะงักงัน หรือความล้มเหลวของกระบวนการปฏิรูปและการสร้างเสถียรภาพในยุโรปตะวันออก รวมทั้งผลที่จะตามมาทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจอันอาจส่งผลกระทบต่อสหภาพ ยุโรปในส่วนร่วม ทางเลือกในการเปิดการเจรจารับสมาชิกใหม่ทั้ง 2 ประการนี้ รวมทั้งทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจมีทางเป็นไปได้ ล้วนแต่เกิดจากความจำเป็นในการปฏิบัติต่อประเทศผู้สมัครแต่ละประเทศอย่างแตก ต่างกันออกไปทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่โดยการเลือกปฏิบัติ (Discrimmination) ทั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรปจะต้องเคารพในหลักการปฏิบัติอย่างเสมอภาค โดยมีเงื่อนไขที่เป็นแบบเดียวกันและมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้เนื่องจากการเจรจารับสมาชิกใหม่มีท่าทีว่าจะกินเวลายาวนานอีกทั้ง ยังต้องอาศัยเวลาในการให้สัตยาบันและการประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ ตามที่ปรากฏ “แผนการดำเนินงานปี ค.ศ. 2000” (Agenda 2000) ดังนั้น การขยายตัวรับสมาชิกครั้งใหม่ของสหภาพยุโรปอาจเกิดขึ้นในครึ่งหลังของทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็เป็นได้
สหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป
( Economic and Monetary Union )
สนธิสัญญาที่ให้อำนาจทางกฎหมาย : มาตรา 102a – 109m ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป (The EC Treaty)
จุดมุ่งหมาย : เพื่อสร้างเสถียรภาพในด้านราคา และให้เงินตราสกุลต่าง ๆ ชองชาติสมาชิกสหภาพยุโรปมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ตายตัวภายในปี ค.ศ.1999 รวมทั้งเพื่อให้มีการประกาศใช้สกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรป คือ ยุโร (The Euro)
กลไกที่ใช้ในการดำเนินนโยบาย: การพัฒนาให้มีนโยบายทางด้านการเงินร่วมกัน การประสานนโยบายด้านเศรษฐกิจของสมาชิกให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และการจัดตั้งระบบธนาคารกลางแห่งยุโรป (The European System of Central Banks หรือ ESCB)
การจักตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปถือว่าได้เป็นเป้าหมายที่มีความ มุ่งหวังสูง และก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในสหภาพยุโรป การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (The Treaty on European Union หรือ Maastricht Treaty) ค.ศ. 1993ถือว่าเป็นการกำหนดพันธกรณีที่จะต้องมีการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการ เงินของยุโรป ( Economic and Monetary Union หรือ EMU) ขึ้นมา ซึ่งในช่วงนี้สกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรปจะมีผลช่วยสร้างความเข็มแข็งให้แก่ ตลาดเดียวแห่งยุโรป เช่นเดียวกับการพัฒนานโยบายต่างประเทศด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป โดยสหภาพเศรษฐกิจและการเงินจะช่วยเพิ่มความสำคัญให้แก่สหภาพยุโรปมาขึ้น ภายใต้สนธิสัญญามาสทริกท์นั้น อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่าง ๆ ที่เข้าร่วนในสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปจะมีตัวอันตรายนับจากวัน ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เป็นต้นไป ดังนั้น กำหนดวันดังกล่าวจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการมีเงินตราสกุลเดียวร่วมกันของ บรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งท้ายที่สุดก็จะมีการนำเงินตราในรูปของธนบัตรและเหรียญกษาปน์ออกมาใช้ ร่วมกัน
สาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในด้านการเงิน นั้นก้เนื่องมาจากอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจจากภายนอก อันได้แก่ ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด และผลกระทบที่มีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีต่อความสัมพันธ์ทาง ด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ด้วนเหตุนี้เองสหภาพยุโรปจึงเลือกเอาการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินมา เป็นวิธีในการเพิ่มความสามารถของชาติสมาชิกเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก
ในอดีตประชาคมยุโรปได้เคยพยายามที่จะเพิ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในหมู่ ชาติสมาชิกมาแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ได้มีการเสนอ “แผนการเวอร์เนอร์” (The Werner Plan) เพื่อการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน แต่ต้องประสบกับอุปสรรคหลายประการ เช่น ความไม่เต็มใจของชาติสมาชิกที่จะพัฒนาการบูรณาการยุโรปในขั้นต่อไป และความแตกต่างในเรื่องมุมมองทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศสมาชิกของประชาคม ยุโรป เป็นต้น หลังจากนั้น ก็ได้มีความพยายามที่จะเสนอแผนการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงอันอาจเกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ ความพยายามครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 เมื่อมีการเสนอให้ใช้ระบบโยงสกุลเงินของชาติสมาชิกเข้าด้วยกัน หรือ “Currency Snnake” และต่อมาใน ปี ค.ศ. 1979 ก็ได้มีการจัดตั้ง “ระบบการเงินยุโรป” (European Monetary System หรือ EMS) ขึ้นมา อย่างไรก็ดี ความพยายามที่จะจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของประชาคมยุโรปในช่วงนั้น ได้หยุดชะงักไปเป็นเวลานาน จนกระทั่งมีการจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรปขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 พร้อมกันนั้นความคิดทางด้านเศรษฐกิจของบรรดาผู้นำสมาชิกก็เกิดความสอดคล้อง กันขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการ เงินได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งจากบรรดาบุคคลในระดับของผู้นำประชาคมยุโรป
รายงานเดอลอรส์ (The Delors Report) และสนธิสัญญามาสทริกท์
สาระที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรปนั้น ส่วนใหญ่มาจากแนวคิดที่แสดงไว้ในรายงานเดอร์ลอรส์(The Delors Report)รายงาน ฉบับนี้ ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ รวมทั้งบรรดาผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป ภายใต้อำนวยการของนายฌาคส์เดอลอรส์ (Jacques Dolors) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปขณะนั้น และได้มีการพิมพ์เผยแพร่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1989 นั้น ได้วางกระบวนการสร้างสหภาพเศรษฐกิจและการเงินไว้เป็น 3 ขั้นตอนกล่าวคือ ขั้นตอนแรกจะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มความร่วมมือในด้านนโยบายการเงินระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศสมาชิดทุกประเทศเข้าร่วมระบบการเงินยุโรป และดำเนินการสร้างตลาดเดียวแห่งยุโรปให้เสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งตระเตรียมงานเพื่อรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาแห่งโรม เป็นต้น สำหรับขั้นตอนที่สอง นั้นจะเป็นการจัดตั้ง “ระบบธนาคารยุโรป”(The European System of Central Banks หรือ ESCB)ซึ่งจะยังคงมีอำนาจจำกัดในระยะแรก ต่อมาในขั้นตอนที่สาม จึงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็น อัตราที่ตายตัว จากนั้นก็มีการใช้เงินสกุลเดียวกันทั่วสหภาพยุโรป
ในปลายปี ค.ศ. 1989ที่ประชุมสุดยอดยุโรป ณ กรุงมาดริด ได้มีมติให้ดำเนินการขั้นตอนที่หนึ่ง โดยเห็นชอบด้วยกันให้มีการประชุมระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป ในปลายปี ค.ศ. 1990 เพื่อทำการเจรจาเรื่องการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ที่ประชุมสุดยอดยุโรปก็ได้ตัดสินใจให้มีการประชุมระหว่างรัฐบาลของประเทศ สมาชิกเพิ่มขึ้นอีกรอบหนึ่งเพื่อทำการเจรจาในเรื่องการปฏิรูปด้านสถาบันและ การจัดตั้งสหภาพทางการเมืองโดยมีเป้าหมายที่จะรับรองการร่วมเยอรมนีให้ร่วม กับประชาคนยุโรปมากขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้กำหนดให้มีการสร้างสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงินใน ขั้นตอนที่สอง โดยเริ่มในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994 อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกในปี ค.ศ. 1990 ก็ได้มีการจัดทำธรรมนูญของธนาคารแห่งยุโรปขึ้นมา โดยระบุว่าจุดมุ่งหมายประการแรกของธนาคารกลางแห่งยุโรป คือ การรักษาเสถียรภาพในเรื่องราคา
เส้นทางไปสู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งยุโรป
สนธิสัญญามาสทริก์ถือได้ว่าเป็นการสานต่อนโยบายการบูรณาการยุโรปครั้งสำคัญ ในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้ให้ความสำคัญแก่การบูรณาการยุโรปใน ด้านเศรษฐกิจมากกว่าในด้านการเมือง ในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายด้านการเงินนั้น สนธิสัญญามาสทริก์ได้กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการปฏิบัติตามแผนการขั้นที่ 3 ขั้นตอนการรายงานของเดอลอรส์ แต่กระนั้น การเจรจาในเรื่องมาตราที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบของแผนขั้นที่ สองและขั้นที่สามก็เป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากต้องสร้างความกระจ่างชัดเจนในเรื่องขอบเขตอำนาจของชาติสมาชิกและ ของสหภาพยุโรปในการกำหนดนโยบายทางด้านการเงินก่อน และจำเป็นต้องเชื่อมโยงขั้นตอนทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากลำบากมากพอ ๆ กันด้วยเหตุนั้น แม้ว่าในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนที่สอง ชาติสมาชิกจะยังคงมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินอยู่ก็ตาม แต่ภายในมาตรา 109e ของสนธิสัญญาจัดตั้งสมาคมยุโรปก็ได้กำหนดให้มีการเริ่มกระบวนการที่จะสร้าง ความเป็นอิสระให้แก่ธนาคารชาติของประเทศสมาชิกในการกำหนดนโยบาย สำหรับทางด้านสถาบันนั้น การเตรียมการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินมาสู่การจัดตั้ง “สถาบันการเงินแห่งยุโรป” (The European Monetary) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1944 เพื่อให้เป็นสถาบันเบื้องต้นให้แก่ธนาคารกลางแห่งยุโรป สถาบันการเงินแห่งยุโรปมีหน้าที่ส่งเสริมให้สมาชิกเตรียมความพร้อม เช่น การปรับโครงสร้าง และการปรันบายการเงินของแต่ละประเทศให้สามารถรับรองการปรับตัวเข้าสู่ขั้น ตอนที่สามของแผนการเดอลอรส์ได้ นอกจากนี่สถาบันการเงินแห่งยุโรปยังมีหน้าที่ในการพัฒนาเครื่องมือและกระบวน การต่าง ๆ สำหรับประกาศการใช้นโยบายร่วมด้านการเงินของสหภาพยุโรปในอนาคตด้วย
การที่ใช้สกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรปจะมีเสถียรภาพได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยนโยบายการสร้างเสถียรภาพที่น่าชื่อถือ และการที่ชาติสมาชิกจะต้องมีนบายที่มีความสอดคล้องกันมากพอสมควรในด้าน เศรษฐกิจและการเงิน ดังนั้นเมื่อชาติสมาชิกของสหภาพยุโรปทุกประเทศเข้าร่วมในแผนขั้นตอนที่สอง แล้ว การจะเข้าสู่แผนขั้นตอนที่สาม ชาติสมาชิกจำเป็นต้องจะต้องมีความสอดคล้องกันในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 109 j ดังนี้คือ
- ต้องมีเสถียรภาพทางด้านราคาในระดับสูง โดยดูจากอัตราเงินเฟ้อของชาตินั้น ๆ ซึ่งจะต้องไม่สูงกว่าร้อยละ 1.5 ของอัตราเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 3 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
- ต้องมีสภาพทางการเงินในภาครัฐมี่นับว่าดีและยั่งยืน ทั้งนี้โดยดูจากอัตราการกู้ยืมประจำปีของรัฐบาลชาตินั้น ๆ ซึ่งจะต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP และอัตราการกู้ยืมของภาครัฐทั้งหมดต้องไม่เกินร้องละ 60 ของ GDP อย่างไรก็ดี อาจมีการลดหย่อนได้หากอัตราการกู้ยืมภาครัฐของชาตินั้น ๆ ลดลงเป็นอย่างมากจนถึงระดับร้อยละ 60 โดยที่คณะรัฐมนตรีแห้งสหภาพยุโรปจะเป็นผู้ตักสินใจว่าชาติสมาชิกนั้น ๆ ผ่านเงื่อนไขในข้อนี้หรือไม่
- ต้องมีเสถียรภาพในอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลของชาตินั้น ๆ จะต้องอยู่ภายในกรอบที่ EMS กำหนดเป็นเวลา 2 ปี เป็นอย่างน้อย และโดยไม่มีการลดค่าเงินให้ต่ำกว่าค่าเงินของสมาชิกอื่น ๆ อย่างไรก็ดีเนื่องจากส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่กำหนดโดย EMS ได้ถูกขยายกว้างขึ้นอีกในปี ค.ศ. 1993 ดังนั้น ความน่าเชื่อถือและเงื่อนไขประการนี่จึงยังเป็นเรื่องที่ต้องถกถียงกันต่อไป
- ต้องมีความสอดคล้องในทางเศรษฐกิจและการเงินในระยะเวลาที่ยาวนาน เงื่อนไขประการนี้สามารถวัดได้จากระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ซึ่งไม่ควรเกินกว่าร้อยละ 2 ของอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของสมาชิก 3 ชาติที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
แม้ว่าเงื่อนไขเพื่อวัดความสอดคล้องในทางเศรษฐกิจและการเงินของชาติ สมาชิกจะเกิดจากแรงจูงใจในทางการเมือง แต่ก็สามารถใช้เป็นเครื่องวัดความพร้อมในการเข้าร่วมสหภาพเศรษฐกิจและการ เงินของยุโรปที่มีประโยชน์ แม้ว่าอีกนัยหนึ่งจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างในทางเศรษฐกิจการ เงินของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยก็ตาม ในแง่นี้สนธิสัญญามาสทริกท์จึงได้พยายามประนีประนอมระหว่างความต้องการระยะ เวลาปรับตัวที่ยาวพอสมควรในการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ของแผนการจัดตั้ง EMU และการร่วมขั้นตอนต่าง ๆ ใน EMU ของชาติสมาชิกอย่างรวดเร็วและย้อนกลับมาไม่ได้
ในการปรับเปลี่ยนจากขั้นตอนที่สองไปยังขั้นตอนที่สามนั้น คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะอาศัยรายงานจากสถาบันการเงินแห่งยุโรปและคณะ กรรมาธิการยุโรปในการตัดสินใจด้วนวิธีการลงคะแนนเสียงข้างมากแบบมีเงื่อนไข ว่าชาติสมาชิกใดปฏิบัติตามเงื่อนไข 4 ประการดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ภายในปลายปี ค.ศ. 1996 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียุโรปซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำรัฐบาลและประเทศสมาชิกจะทำ การตัดสินใจว่าชาติสมาชิกส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งสี่ได้แล้ว หรือยังจากนั้นประชุมคณะรัฐมนตรียุโรปก็จะกำหนดวันที่เริ่มแผนขั้นตอนที่สาม ในกรณีที่ชาติสมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ก็อาจต้องมีการพิจารณาเงื่อนไขดังกล่าวก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 หลังจากนั้นชาติสมาชิกที่มีคุณสมบัติพร้อมก็จะเริ่มเข้าร่วมสหภาพการเงินใน วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 อนึ่ง จะมีกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของชาติสมาชิกทุก ๆ 2 ปี ประเทศสมาชิกทุกประเทศที่พร้อมเข้าร่วมแผนขั้นตอนที่สามก็จะปฏิบัติงานตาม ที่ระบุบไว้ในแผนขั้นตอนที่สาม ยกเว้นอังกฤษ และเดนมาร์กซึ่งสงวนสิทธิที่จะไม่เข้าร่วมภายใต้มาตราพิเศษของสนธิสัญญา
นอกจากธรรมนูญของธนาคารกลางแห่งยุโรปแล้ว มาตรา 105 ถึงมาตรา 109d ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรปยังได้ระบุบถึงนโยบายทางการเงินที่เกี่ยว กับระบบธนาคารกลางแห่งยุโรปไว้ด้วย มาตรการดังกล่าวอาศัยรูปแบบธนาคารกลางของเยอรมนีเป็นแม่แบบ และเน้นหน้าสำคัญของธนาคารกลางแห่งยุโรป คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคา มาตรา 107 กำหนดให้ธนาคารกลางแห่งยุโรปมีอิสระในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แต่ไม่ได้รับอนุญาติให้ช่วยเหลือในด้านการขาดดุลของภาครัฐ นอกจากนี้เพื่อให้ชาติสมาชิกมีความสอดคล้องกันในด้านการเงินมากขึ้น สนธิสัญญาสหภาพยุโรปยังได้กำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกในด้าน นโยบายเศรษฐกิจ โดยให้อยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
การดำเนินงานและแนวโน้มสำหรับอนาคต
อาจกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปนั้น ได้จงใจทิ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสหภาพเศรษฐกิจและการเงินไว้อย่างคลุม เครือ โดยเฉพาะในเรื่องการดำเนินงานในขั้นตอนที่สามซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการระบุบ ไว้อย่างชัดเจก่อนจะเริ่มแผนขั้นตอนที่สาม ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ“สมุดปกเขียว” (A Green Paper) ซึ่งเป็นเอกสารที่วางแผนสำหรับประกาศใช้สกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรป และในขณะเดียวกันสถาบันการเงินแหง่ยุโรปก็ได้แสดงความคิดเห็นของตนในเรื่อง ดังกล่าวเช่นกัน โดยรวมตารางกำหนดการดำเนินงานตามแผนขั้นตอนที่สามมีดังนี้
- ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1999 จะมีการเริ่มใช้สกุลเงินของสหภาพยุโรปโดยธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ของชาติ สมาชิก การประกาศใช้เงินสกุลร่วมจะมีระยะปรับตัวที่ยาวนานพอสมควร ทั้งนี้เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานมากนัก
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 จะมีการเริ่มใช้เหรียญและธนบัตรของเงินสกุลยูโร และหลังจากนั้นอีก 6 เดือน สกุลเงินของชาติสมาชิกที่เข้าร่วมในแผนก่อตั้ง EMU ในขั้นตอนที่สามก็ถูกยกเลิกไป
ต่อมาที่ประชุมสุดยอดประชุมยุโรปที่กรุงมาดริดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 ได้กล่าวย้ำถึงความปรารถนาที่จะให้มีการเมสหภาพเศรษฐกิจและการเงินที่ สมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1999 และได้มีมติให้เงินสกุลของสหภาพยุโรปมีชื่อว่า “เงินยูโร” (The Euro) นอกจากนี้ยังมีความเห็นให้กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวกับกลไกด้านการเงินต่าง ๆที่ธนาคารกลางแห่งยุโรปสามารถใช้ได้ภายในปี ค.ศ. 1996 พร้อมกันนั้น เพื่อไม่ให้สหภาพเศรษฐกิจและการเงินมีผลกระทบต่อตลาดเดียวของยุโรป จึงได้มีการเสนอให้มีการจัดตั้ง “ระบบการเงินยุโรป 2” (EMU 2) ขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงสกุลเงินของชาติสมาชิกที่เข้าร่วมในแผนขั้นตอนที่สามของ EMU กับชาติสมาชิกที่ไม่ได้เข้าร่วมให้สอดคล้องกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเตรียมงานในด้านเทคนิคเพื่อจัดตั้งสหภาพทางเศรษฐกิจ และการเงินนั้นได้ถูกวางแผนได้อย่างเรียบร้อย
นับตั้งแต่ได้รับการสัตยาโดยชาติสมาชิกเป็นต้นมา สนธิสัญญามาสทริกท์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ อาทิเช่น ในเรื่องสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงินนั้น ส่วนใหญ่มุ่งวิจารณ์ประเด็นที่ว่าสหภาพทางการเมืองและสหภาพทางเศรษฐกิจและ การเงินไม่ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน การมุ่งบูรณาการด้านเศรษฐกิจโดยไม่มีการบูรณาการด้านการเมืองมารองรับอาจ เป็นไปได้ยาก และการประสานนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงแน่หรือที่จะค้ำประกันประเทศสมาชิกจะ รักษาพันธกรณีในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา นอกจากนี้ยังมีผู้ไม่แน่ใจในความเหมาะสมของเงื่อนไขที่ใช้วัดความพร้อมในการ เข้าร่วมEMU อยู่ เป็นต้น
ในปี ค.ศ. 1995 เยอรมนีได้เสนอ “ข้อตกลงรักษาเสถียรภาพสำหรับยุโรป” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาอันเป็นช่องโหว่ซึ่งปรากฏอยู่ในสนธิสัญญามาส ทริกท์ดังกล่าว สาระของข้อตกลงฉบับนี้เป็นการเสนอการครบคุมของชาติสมาชิกให้ปฏิบัติตาม ระเบียบด้านงบประมาณหลังจากที่ EMU ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ที่สำคัญคือ เป็นการปิดโอกาสให้มีการคว่ำบาตรหรือลงโทษชาติสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามได้โดย อัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอให้คณะรัฐมนตรีตัดสินใจด้วยระบบการลงคะแนนเสียงข้างมากดังที่ ปรากฏในสนธิสัญญามาสทริกท์ ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 1996 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติยอมรับในหลักการให้มีการใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อปก ป้องสหภาพเศรษฐกิจการเงินของยุโรป
เงินยูโร
(The Euro)
สนธิสัญญาที่ให้อำนาจทางกฎหมาย : มาตรา 102a ถึง มาตรา 109m ของสนธิสัญญาจัดตั้งสมาคมยุโรป (The EC Treaty) ในส่วนที่ว่าสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
จุดมุ่งหมาย : เพื่อประกาศใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วมที่มีเสถียรภาพของสหภาพยุโรป
สนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปได้ระบุไว้ว่า ขั้นตอนที่สามของแผนการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปจะเริ่มขึ้น ในวันที่1 มกราคม ค.ศ. 1999 จากนั้นจะเริ่มมีการประกาศใช้สกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรป หรือเงินยูโร (The Euro) ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเข้าร่วมในขั้นตอนที่สาม ของแผนการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป
แต่เดิมนั้น สนธิสัญญาประชาคมยุโรปได้เรียกหน่วยงานของประชาคมยุโรปว่า เงินอีซียู (The Euro) หรือหน่วยเงินของยุโรป (The European Currency Unit) เงินอีซียูมีหน้าที่เป็นหน่วยเงินกลางระหว่างประเทศสมาชิกนับตั้งแต่มีการ ประกาศใช้ระบบการเงินของยุโรป (EMS) ซึ่งเป็นตะกร้าเงินที่โยงค่าเงินสกุลต่างๆ ของชาติสมาชิกประชาคมยุโรปเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อน ข้างแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง ค่าเงินอีซียูจึงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินของชาติสมาชิกบางประเทศที่ มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี เงินสกุลยูโรไม่ได้เป็นระบบตะกร้าเงินเหมือนเงินอีซียู อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่เข้าไปแทนที่สกุลเงินของชาติสมาชิกที่มีเสถียรภาพดัง กล่าวมรอีกแล้วด้วย ที่สำคัญเงินยูโรจะกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของความเป็นสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจึงมีมติเห็นพ้องกันในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1995 ให้เรียกเงินสกุลใหม่นี้ว่า “เงินยูโร” ข้อดีของชื่อยูโรก็คือ สั้นและสามารถสะกดแบบเดียวกันได้ในทุกภาษาของชาติสมาชิก สำหรับค่าเงินยูโรนั้น ประกอบไปด้วย 100 เซนต์
การใช้เงินยูโรแทนสกุลเงินของชาติสมาชิกนั้นจัดได้ว่าเป็นงานที่มีความทะเยอ ทะยานมาก เนื่องจากมีความยากลำบากหรืออุปสรรคในด้านเทคนิคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วง การปรับตัวเพื่อใช้เงินยูโรหลายประการ ความพยายามที่จะทำให้อุปสรรคต่างๆเกิดขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่การจัดตั้ง EMU ในขั้นตอนแรก คือการทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศสมาชิกแน่นอนตายตัว ซึ่งจะเท่ากับว่าค่าเงินของชาติสมาชิกแต่ละชาติเป็นค่าเงินกลางของสหภาพ ยุโรป ซึ่งจะมีความเป็นอิสระในทางด้านการเมืองและมีหน้าที่หลักในการรักษา เสถียรภาพของค่าเงินเป็นผู้กำหนดนโยบายเงินของสหภาพยุโรป หลังจากที่มีการจัดตั้ง EMU ขึ้นแล้ว
สำหรับแผนการประกาศใช้เงินยูโรนั้น ได้กำหนดว่าในปี ค.ศ. 1998 จะมีการตัดสินว่าสมาชิกใดมีความพร้อมที่จะประกาศใช้เงินยูโรตามแผนขั้นตอน ที่สามของการจัดตั้ง EMU จากนั้นก็เริ่มมีการผลิตธนบัตรและเหรียญของเงินสกุลยูโร คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปอันประกอบไปด้วยรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการคลังจาก ประเทศสมาชิกซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เป็นต้นไป เมื่อถึงเวลาดังกล่าวการกู้ยืมเงินภาครัฐบางส่วนจะถูกเปลี่ยนไปใช้เงินสกุล ยูโรแทน และก็อาจเป็นไปได้ที่จะสามารถใช้เงินยูโรในการชำระหนี้ด้วยเช็คหรือการโอน เงินทางธนาคารอีกด้วย จากนนั้นเมื่อถึงวันที่1 มกราคม ค.ศ. 2002 จะเริ่มมีเหรียญกษาปน์และธนบัตรเงินยูโรออกใช้ในตลาด อย่างไรก็ดี ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากที่มีเหรียญกษาปน์และธนบัตรของเงินสกุลยูโรออกใช้แล้ว ก็อาจมีการใช้เงินสกุลของชาติสมาชิกและเงินสกุลยูโรควบคู่กันไป แต่นับจากวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 เป็นต้นไปแล้ว เงินยูโรจะเป็นเงินสกุลเดียวที่ถูกกฎหมายที่จะใช้ในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม ในสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป
เงินสุกุลยูโรนั้นไม่ใช่เป็นการปฏิรูปเงินตราดังที่มีผู้หวาดเกรง หากแต่เป็นเพียงการเปลี่ยนรูปของสกุลเงินเท่านั้น กล่าวคือ ปริมาณเงินทั้งหลายของชาติสมาชิกจะถูกเปลี่ยนเป็นสกุลยูโร แต่ค่าเงินยังคงเดิมรวมทั้งเงื่อนไขด้านการเงินต่างๆ เช่น เงินยืมหรือเงินกู้ของธนาคารจะยังคงเดิม ข้อแตกต่างมีเพียงประการเดียวคือ ธนาคารกลางแห่งยุโรปที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 จะเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินสกุลยูโร ธนาคารกลางแห่งยุโรปนั้นตั้งขึ้นโดยอาศัยธนาคารกลางของเยอรมนีเป็นแบบอย่าง ในแง่โครงสร้างและเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางแห่งยุโรปจะแตกต่างจากธนาคารชาติทั่วๆไป คือ จะสามมารถปรับนโยบายการเงินของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในเองอัตราแลก เปลี่ยนเงินตราและค่าเงินโดยรวม สำหรับกลไกด้านการเงินที่ธนาคารกลางแห่งยุโรปมีนั้นพัฒนามาจากกลไกของสถาบัน การเงินยุโรปซึ้งเป็นสถาบันเบื้องต้นของธนาคารกลางแห่งยุโรป แม้ว่ารายละเอียดของกลไกด้านการเงินดังกล่าวจะยังไม่ได้มีการกำหนดอย่าง ชัดเจน แต่บรรดาผู้ว่าการธนาคารชาติของประเทศสมาชิกซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นคณะมนตรี ของสถาบันการเงินยุโรปก็ได้ มีการหารือกันและได้บรรลุแนวทางร่วมกันในเรื่องแนวคิดหลักๆไปแล้ว หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งธนาคารกลางแห่งยุโรปขึ้นมาแล้ว คณะมนตรีของธนาคารกลางยุโรป (The European Central Bank Council หรือ The ECB Council) จะเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบายการเงิน กลไกด้านการเงินต่างๆรวมไปถึงรูปแบบของธนบัตรเงินสกุลยูโรด้วย
โดยสรุป ยังมีรายละเอียดด้านเทคนิคอีกมากที่จะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนก่อนที่จะเข้า สู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป ตัวอย่างเช่น กระบวนการที่จะใช้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แน่นอนในวันที่จะเปลี่ยน เงินสกุลของชาติสมาชิกมาเป็นยูโร หรือการประกาศใช้กรอบทางกฎหมายสำหรับควบคุมการเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรเพื่อ สร้างความมั่นให้แก่สถาบันทางธรกิจ และกิจกรรมต่างๆในหารวางแผนหรือกำหนดนโยบาย เป็นต้น อนึ่ง ในการที่จะชี้ให้ชาวยุโรปเห็นถึงประโยชน์ของการมีสกุลเงินร่วมกันได้นั้น จะเป็นต้องให้ประชาชนชาวยุโรปได้รับข้อมูลข่าวสารที่ละเอียดครอบคลุม และให้เขาเหล่านั้นสามารถเข้าใจถึงกระบวนการการตัดสินใจทางการเมืองของผู้ บริหาร อย่างไรก็ดี การที่ประชาชนยอมรับการใช้เงินสกุลร่วมนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ จะทำให้สหภาพการเงินของยุโรปประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนที่นำไปสู่การประกาศการใช้เงินยูโร
- 1กรกฎาคม ค.ศ. 1990 เริ่มขั้นตอนที่หนึ่งของแผนสร้างสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน มีการให้ทุนเคลื่อนย้ายอย่างเสรีภายในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
- 1 มกราคม ค.ศ. 1993 การรวมตลาดยุโรปเสร็จสมบูรณ์
- 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงค่าเงินสกุลต่างๆที่รวมอยู่ในตะกร้าเงินอีซียู สนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้ และเริ่มขั้นตอนที่สองของแผนสร้าง EMU
- 1 มกราคม ค.ศ. 1994 มีการจัดตั้งสถาบันการเงินยุโรปขึ้น ณ เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี พร้อมกับมีการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กระบวนการประสานนโยบายเศรษฐกิจใน ระดับสหภาพ ชาติสมาชิกพยายามลดการขาดดุลและพยายามทำให้นโยบายเศรษฐกิจของตนสอดคล้องกับ ชาติสมาชิกอื่นๆ
- 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 คณะกรรมาธิการยุโรรับร่างสมุดปกเขียวว่าด้วยเงินตราสกุลเดียวของยุโร เอกสารฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการปรับเปลี่ยนไปใช้เงินสกุล ร่วมของสหภาพยุโรป
- 15 และ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1995 การประชุมคณะมนตรียุโรปที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ที่ประชุมมีมติให้สกุลเงินร่วมใช้ชื่อว่า “เงินยูโร” และมีการกำหนดระยะเวลาและกลไกในการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินร่วมในปี ค.ศ. 1999 (กระบวนการเปลี่ยนแปลงจะสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2002)
- ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1996 เป็นอย่างช้า สถาบันการเงินยุโรปจะกำหนดโครงสร้างทั้งในด้านองค์กร ระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่ธนาคารกลางแห่งยุโรปและระบบธนาคารกลางแห่งยุโรป นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และสถาบันการเงินยุโรปจะเตรียมการในด้านการออกกฎหมายและบทบัญญัติว่าด้วยการ จัดตั้งธนาคารกลางแห่งยุโรป ระบบธนาคารกลางแห่งยุโรป รวมทั้งการประกาศใช้เงินสกุลเดียวของยุโรป
- ในปี ค.ศ. 1998 บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะตัดสินว่าชาติสมาชิกใดพร้อมที่จะประกาศใช้เงินสกุลยูโร โดยอาศัยเกณฑ์คือ เงื่อนไขที่แสดงความสอดคล้องในทางเศรษฐกิจกับชาติสมาชิกอื่นๆ และพิจารณาจากข้อมูลทางเศรษฐกิจในปี่ ค.ศ. 1997
หลังจากการตัดสินใจข้างต้น สหภาพยุโรปก็จะดำเนินการดังนี้
- ชาติสมาชิกทำการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการบริหารของธนาคารกลางแห่งยุโรป (Executive Board of the European Central Bank)
- คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปร่วมกับธนาคารกลางแห่งยุโรปจะทำการกำหนดวันเริ่มใช้ธนบัตรและเหรียญเงินสกุลยูโร
- ระบบธนาคารกลางของยุโรปจะเริ่มผลิตสกุลเงินยูโร
- คณะแห่งสหภาพยุโรปและชาติสมาชิกจะเริ่มผลิตเหรียญเงินยูโร
- ก่อนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 การเตรียมการขั้นสุดท้ายก่อนธนาคารกลางยุโรปและระบบธนาคารกลางของยุโรปจะมีผลบังคับใช้มีดังต่อไปนี้
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนทุนการรวบรวม ข้อมูลทางสถิติ ปริมาณเงินสำรองขั้นต่ำ ระบบที่ปรึกษาของธนาคารกลางแห่งยุโรป และค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมทางธุรกรรม ธนาคารแห่งยุโรปและระบบธนาคารกลางยุโรปเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติงาน โดยการเริ่มใช้กรอบทางกฎหมาย หรือทดลองโครงสร้างกลไกต่างๆทางการเงิน เป็นต้น
- 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เริ่มขั้นตอนที่สามของแผลสร้างสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน กล่าวคือ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวสำหรับสกุลเงินของ ประเทศสมาชิกทั้งระหว่างสกุลเงินของชาติสมาชิก และระหว่างสกุลเงินยูโรกับสกุลเงินของชาติสมาชิกแต่ละประเทศ เงินสกุลยูโรจะกลายเป็นสกลุเงินของสหภาพยุโรปพร้อมกับการยกเลิกการใช้ระบบ ตะกร้าเงินอีซียู คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะเป็นผู้ออกข้อบังคับต่างๆเพื่อเป็นกรอบทางกฎหมาย ให้แก่การประกาศใช้เงินสกุลยูโร
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เป็นต้นไป ระบบธนาคารกลางของยุโรปจะเป็นผู้กำหนดและดำเนินนโยบายการเงินร่วมโดยการใช้ เงินสกุลยูโร และในขณะเดียวกันก็จะดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตรากับต่างประเทศโดยใช้เงิน สกุลยูโร พร้อมกันทั้งประเทศสมาชิกก็จะออกตราสารหนี้สาธารณะโดยใช้เงินยูโร
- จากวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 จนถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 เป็นอย่างช้า ระบบธนาคารกลางของยุโรปจะทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินของชาติสมาชิกโดยใช้อัตรา ที่ตายตัว นอกจากนี้ระบบธนาคารกลางของยุโรปร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลของชาติสมาชิกจะ คอยดูแลสอดส่องการเปลี่ยนแปลงในภาคการธนาคารและการเงิน และคอยช่วยเหลือระบบเศรษฐกิจโดยรวมในการเตรียมการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว
- 1 มกราคม ค.ศ. 2002 เป็นอย่างช้า ระบบธนาคารกลางของยุโรปจะค่อยๆนำธนบัตรเงินยูโรออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ และจะยกเลิกการใช้ธนบัตรที่เป็นเงินในสกุลของประเทศสมาชิก ขณะเดียวกันประเทศสมาชิกก็จะค่อยๆนำเหรียญยูโรออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ และจะยกเลิกการใช้เหรียญในสกุลเงินของประเทศสมาชิก
- 1 มกราคม ค.ศ. 2002 เป้นอย่างช้า การเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลยูโรจะเสร็จสมบูรณ์ในประเทศสมาชิกทุกประเทศที่เข้า ร่วมในสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป
สถาบันการเงินแห่งยุโรป
(European Monetary Instiute)
ก่อตั้งเมื่อ:1 มกราคม ค.ศ. 1994
สมาชิกภาพ :สมาชิกประกอบด้วย ประธานซึ่งทำงานเต็มเวลา และผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี EMI
สนธิสัญญา ที่ให้อำนาจทางกฎหมาย : มาตรา 109f ซึ่งเกิดจากการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 โดยสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty on European Union) พิธีสารว่าด้วยสถาบันทางการเงินยุโรป ซึ่งภาคผนวกเข้าเป็นสนธิสัญญาการจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty on European Union)
โครงสร้าง : ประกอบด้วย ประธาน สำนักเลขาธิการ และกรมต่าง ๆ 4กรม
สถาบันการเงินแห่งยุโรป (European Monetary Instiute หรือ EMI)ได้ รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 โดยการเริ่มมีผลบังคับใช้ของขั้นตอนที่สองของการก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการ เงินของยุโรป แม้ว่าจะเริ่มปฏิบัติการจริงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ก็ตาม สถาบันดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และมีประธานคนแรกคือ นาย AlexandreLamfalussyชาวเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับจากการเลือกตั้งโดยประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
สถาบันการเงินแห่งยุโรป หรือ EMI จะทำหน้าที่แทนคณะกรรมการของธนาคารกลางแห่งประชาคมยุโรป และถือว่าเป็นสถาบันเบื้องต้นของระบบธนาคารกลางแห่งยุโรปและธนาคารกลางของ ยุโรป ซึ่งจะได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อขั้นตอนที่สามของสหภาพเศรษฐกิจและการเงินมี ผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1997 หรือหลังจากนั้น
บทบาทสำคัญของสถาบันการเงินแห่งยุโรปคือการเตรียมงานการดำเนินงานตามขั้นตอน ที่สามของสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน โดยการพัฒนากลไกและกระบวนการต่าง ๆ สำหรับนโยบายร่วมการเงินของยุโรปให้เสร็จสิ้นภายในปี ค.ศ. 1996 นองจากนี้สถาบันการเงินแห่งยุโรปยังมีหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง ธนาคารแห่งชาติของบรรดาสมาชิกสหภาพยุโรป รวมทั้งเสริมสร้างการประสานนโยบายการเงินระหว่างชาติสมาชิก และชี้นำนโยบายเหล่านี้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพในด้าน ราคาของสหภาพ อนึ่ง สถาบันการเงินแห่งยุโรปยังมีหน้าที่การดูแลการทำงานของระบบการเงินของยุโรป รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการประกาศใช้เงินยูโร ทั้งยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำสัญญาทางการเงินข้ามชาติ และคอยสอดส่องดูแลการเตรียมการในด้านเทคนิคในการประกาศใช้ธนบัตรเงินยูโรใน อนาคตอีกด้วย
องค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตัดสินใจในสถาบันการเงินแห่งยุโรป ก็คือ คณะมนตรีของ EMI ซึ่งประกอบได้ด้วยบรรดาผู้ว่าการธนาคารของชาติสมาชิก ชาติสมาชิกทุกชาติจะสามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนนเสียง คณะมนตรีของ EMI อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยคำชี้แนะจากสถาบันใด ๆ ของสหภาพยุโรป รวมทั้งจากบรรดารัฐบาลของชาติสมาชิกด้วย โดยการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี EMI จะเป็นไปด้วยระบบการลงคะแนนเสียงข้างมากแต่ในกรณีของการให้ข้อเสนอแนะหรือ ความคิดเห็นแก่สถาบันอื่น ๆ นั้นจะตัดสินใจโดยการใช้คะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ในขณะที่ตีพิมพ์ความเห็นต่าง ๆ จะต้องอาศัยการลงคะแนนเสียงอย่างเป็นเอกฉันท์ สถาบันการเงินแห่ง
ระบบการเงินยุโรป (European Monetary System)
ก่อตั้งเมื่อ : 13 มีนาคม ค.ศ. 1979 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนหลังคือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979
สมาชิกภาพ : ชาติสมาชิกของสหภาพยุโรปทุกประเทศเป็นสมาชิกของระบบการเงินยุโรป แต่ในกรณีของกลไกแลกเปลี่ยนทางการเงิน (ERM) นั้น กรีซไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก และอังกฤษขอถอนตัว
ฐานอำนาจทางกฎหมาย :
- ระเบียบที่ออกโดยคณะมนตรีแห่งประชาคมยุโรป (Councill of ministers) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1978 เกี่ยวกับระบบการเงินยุโรป และการเปลี่ยนค่าของหน่วยทางการเงินที่ใช้โดยกองทุนความร่วมมือทางการเงิน ของยุโรป (The European Monetary Cooperation Fund - EMCF)
- มติของคณะมนตรีแห่งประชาคมยุโรป เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1978 ที่ให้มีการจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือด้านการเงินระยะกลาง
- ข้อตกลงระหว่างธนาคารกลางของชาติสมาชิกฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1979 ว่าด้วย “Modus Operandi” ของระบบการเงินยุโรป
- คำตัดสินใจของธนาคารกลางของชาติสมาชิก เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1979 ว่าด้วยความช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้น และ
- คำตัดสินใจของกองทุน EMCF เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1979
โครงสร้างของสถาบัน : ประกอบ ด้วยคณะมนตรีที่มาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของชาติสมาชิก คณะกรรมการด้านการเงิน (ประกอบด้วยผู้แทนชาติละ 2 คน และผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรป 2 คน) และกองทุนความร่วมมือทางการเงินของยุโรป (ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางของชาติสมาชิก โดยคณะกรรมาธิการยุโรปมีฐานะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เท่านั้น)
ความเป็นมา
ความร่วมมือทางด้านการเงินของชาติสมาชิก เป็นเพียงบทบาทส่วนน้อยที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาแห่งโรม โดยประชาคมเศรษฐกิจยุโรปมีเพียงกฎขั้นพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับด้านการเงิน แม้ว่าภายหลังคือในปี ค.ศ. 1964 จะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการเงินขึ้นมา และต่อมาก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการของผู้ว่าการธนาคารกลางของชาติสมาชิกตามมา ก็ตาม
เพื่อเป็นการสานต่อจากข้อริเริ่มของคณะกรรมาธิการยุโรป และคำประกาศของผู้นำชาติสมาชิก ณ กรุงเฮกในปี ค.ศ. 1960 จึงได้มีการจัดทำแผนการเวอร์เนอร์ (Werner Plan) ขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 แผนการดังกล่าวได้รับอนุมัติจากประชาคมยุโรปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 1970 และ มีสาระกล่าวดึงการดำเนินการใน 3ขั้นตอนภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อให้บรรลุถึงการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินในที่สุด อย่างไรก็ดีแผนการเวอร์เนอร์ต้องประสบกับความล้มเหลว อันเนื่องมาจากสภาพทางพื้นฐานเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำลงในขณะนั้น ได้แก่ การล่มสลายของระบบ Bretton Woods ซึ่งเป็นระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศแบบตายตัว วิกฤตการณ์น้ำมัน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น แต่สาเหตุของความล้มเหลวที่สำคัญที่สุดก็คือ ความขัดแย้งในทางความคิดระหว่างชาติสมาชิกของประชาคมยุโป โดยมีทฤษฎีที่แตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายแรกประกอบด้วย เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ เชื่อว่าควรทำให้นโยบายการเงินของชาติสมาชิกมาบรรจบกันเสียก่อนแล้วจึง ประกาศใช้เงินตราสกุลเดียวกันทั้งประชาคม ขณะที่ฝ่ายหลังซึ่งประกอบด้วย ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และคณะกรรมาธิการยุโรป เชื่อว่าควรประกาศใช้เงินสกุลเดียวกันก่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเร่งให้ ชาติสมาชิกปรับนโยบายการเงินของพวกตนให้มาบรรจบกัน ในปี ค.ศ. 1972 ได้มีการจัดตั้งระบบโยงสกุลเงินของชาติสมาชิกเข้าด้วยกัน (Currency Snake) โดยธนาคารกลางของชาติต่างๆ แต่ระบบดังกล่าวก็ต้องล้มเหลวเนื่องมาจากความขัดแย้งทางแนวคิดดังกล่าวมา แล้วเช่นกัน โดยประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่ามักหลีกเลี่ยงการร่วมมือทางการเงินอย่างใกล้ ชิดกับชาติสมาชิกอื่นที่มีค่าเงินแข็งกว่า เนื่องจากค่าเงินที่มีเสถียรภาพเช่น เงินมาร์กของเยอรมนีจะกดดันให้ประเทศที่มีค่าเงินอ่อนจำเป็นต้องทำการปรับ นโยบายด้านการเงินภายในประเทศ เพื่อให้ค่าเงินของตนเข้มแข็งขึ้น และสอดคล้องกับค่าเงินของเยอรมนี เป็นต้น
การจัดตั้ง EMS
แม้จะมีปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็ได้มีการจัดตั้ง ระบบการเงินยุโรป หรือ EMS ขึ้น มาในปี ค.ศ. 1979 ฝรั่งเศสโดยรัฐบาลของจิสการด์ เดสแตง ได้หันไปเลือกใช้นโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง เสถียรภาพ (ซึ่งก็คือนโยบายด้านเศรษฐกิจของประชาคมยุโรป) แต่เยรมนีก็ได้เสนอแผนการจัดตั้ง EMS เพื่อชักจูงให้ฝรั่งเศสหันกลับไปดำเนินความร่วมมือทางการเงินอีกครั้งหนึ่ง อันที่จริง EMS ไม่ได้ทำให้ชาติสมาชิกต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการเงินแต่ประการใดและกลไก ของ EMS ก็มีแนวโน้มต่ำมากที่จะนำไปสู่การบูรณาการยุโรป นอกจากนี้ EMS ก็ยังไม่มีผลกระทบต่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาระบบความร่วมมือด้านการเงินใน ระดับของประชาคมยุโรปภายในเวลา 2 ปี อีกด้วย โดยทั่วไป EMS ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของประชาคมยุโรปอย่างสมบูรณ์ หากแต่เป็นระบบที่ผสมผสานระหว่างฐานทางกฎหมายในระดับประชาคม และในระดับชาติสมาชิกเข้ามาประกอบกันเท่านั้น จนเมื่อสนธิสัญญาจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรปมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1987 แล้วนั่งเองจึงได้มีการบรรจุ EMS เข้าไว้ในสนธิสัญญาของประชาคมยุโรป โดยมีการกล่าวถึงไว้ในมาตรา 102 ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
โครงสร้างและการดำเนินงาน
EMS ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ หน่วยเงินของยุโรป หรือ ECU อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและระบบการแทรกแซงทางการเงินรวมทั้งการ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในด้านสินเชื่อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- อี ซี ยู หรือ European Currency Unit (เป็นหน่วยการเงินที่ใช้ต่อจาก อียูเอ หรือ European Unit of Account) เป็นหน่วยเงินที่ตั้งขึ้นเพื่อการชำระเงินโดยอาศัยเงินตราสกุลต่าง ๆ ของชาติ สมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นฐาน การกำหนดค่าของเงินอีซียู ทำโยการหาค่าเฉลี่ยของสกุลเงินของชาติสมาชิกทั้งหมดที่เข้าร่วม ซึ่งจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เช่น เงินมาร์กของเยอรมนีมีอัตราร้อยละ 30.4 ของตะกร้าเงิน (สำหรับโยงสกุลเงินของชาติสมาชิกเข้าด้วยกัน) และถือว่ามีจำนวนมากที่สุดใน 15 ประเทศที่มีสกุลเงินร่วมในตะกร้าเงินฟรังค์ของฝรั่งเศสมีอัตราร้อยละ 19.3 และเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษมีอัตราร้อยละ 12.6 ของตะกร้าเงินตามลำดับ หน้าที่หลักของอีซียู คือเป็นหน่วยทางการเงินในการชำระเงินและอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งเป็นกลไกแทรกแซง อีกทั้งยังมีส่วนในการพัฒนากลไกทางด้านสินเชื่อ นอกจากนี้ยังเป็นกลไกในการสำรองเงินตราในขอบเขตจำกัด กล่าวคือ เมื่อธนาคารกลางของชาติสมาชิกฝากทองคำสำรองร้อยละ 20 และเงินดอลล่าร์สำรองร้อยละ 20 ของตนกับกองทุนเพื่อความร่วมมือทางการเงินของยุโรป (The European Monetary Cooperation Fund - EMCF) ก็ได้รับเงินอีซียูในปริมาณที่เท่ากันกลับมา เพื่อใช้ในการทำความตกลงต่าง ๆ ทางการเงินระหว่างประเทศ (เรียกว่า เงินอีซียูแบบเป็นทางการ) นอกจากนี้เงินอีซียูยังสามารถใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ และในการลงทุนในตลาดทุนนานาชาติได้อีกด้วย
- อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและกลไกแทรกแซงทางการเงิน องค์ประกอบหลักของ EMS นั้น ดำเนินงานด้วยวิธีการเทียบส่วน โดยอัตรากลางของเงินแต่ละสกุลเงินใน EMS จะช่วยหน่วยเป็นอีซียู จากนั้นสกุลเงินต่าง ๆ ก็จะมีการเที่ยบอัตรากันเพื่อจัดอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงิน ซึ่งแต่ละอัตราอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงแต่จะยังอยู่ในกรอบ ที่กำนหดไว้ นั่นก็คือมากหรือน้อยกว่าอัตรากลางไม่เกินร้อยละ 2.25 นอกจากนี้ยังมีกรอบชั่วคราวสำหรับสกุลเงินของอังกฤษอิตาลีและสเปน ซึ่งเพิ่มอัตราห่างเป็นร้อยละ 6 มากกว่า หรือน้อยกว่าอัตรากลางอีกด้วย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 กรอบของอัตราห่างเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 เมื่อใดที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของชาติสมาชิกมีระดับถึงปลายสุดของกรอบ อัตราห่าง ธนาคารกลางของชาติสมาชิกก็จะเข้าแทรงแซงโดยการซื้อหรือขายเงินสกุลดังกล่าว เพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนนอกจากนี้ตามข้อตกลง “Basel/Nyborg” เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1987 ว่าด้วยการปฏิรูป EMS ธนาคารกลางของชาติสมาชิกมีอำนาจที่จะเข้าแทรกแซงเพื่อปรับอัตราแลกเปลี่ยน ก่อนที่ค่าเงินของชาติสมาชิกจะถึงปลายของกรอบอัตราห่างอีกด้วย
โครงสร้างดังกล่าวของ EMS มีความสำคัญทางการเมืองเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจาก ยิ่งอัตราห่างของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนน้อยลงเท่าใด ก็ยิ่งจำเป็นที่ชาติสมาชิกจะต้องปรับนโยบายด้านเศรษฐกิจการเงินและการคลัง ให้สอดคล้องกันมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งธนาคารก็จะยิ่งมีช่องทางในการเข้าไปแทรกแซงน้อยลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้เองกรอบอัตราห่างดังกล่าวจึงสมารถบ่งชี้ถึงระดับการบูรณาการ ระหว่างนโยบายหลักทางเศรษฐกิจในบรรดาประเทศสมาชิกรวมทั้งระดับความมุ่งมั่น ของชาติสมาชิกในการสร้างเสถียรภาพของประชาคมยุโรปอีกด้วย สิ่งนี้จะช่วยอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดชาติสมาชิกบางประเทศจึงยังไม่พร้อมที่ จะเข้าร่วมในกลไกแทรกแซงทางการเงินตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม ( จนถึงปลายปี ค.ศ. 1994 อังกฤษ อิตาลี และกรีซ ยังคงไม่เข้าร่วมในกลไกแทรกแซงดังกล่าว)
เมื่อใดที่อัตรากลางของเงินสกุลต่างๆเพิ่มหรือลดจนถึงระดับปลายของกรอบอัตรา ห่าง ก็จะต้องมีการกำหนดอัตรากันใหม่ โดยการดำเนินการของคณะกรรมการทางการเงิน และจะต้องได้รับมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลังของชาติสมาชิกด้วย การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราใหม่นั้นมีอัตราใหม่จะไม่สามารถสะท้อนให้ เห็นได้จากอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ดังนั้น การลดค่าเงินจึงมีผลกระทบต่อความภาคภูมิของรัฐบาลชาตินั้น ๆ การปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราใหม่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1981-1983 จากนั้นระบบของประชาคมยุโรปก็จะสามารถสร้างเสถียรภาพได้จนไม่มีการปรับอัตรา ใหม่อีกเลยจนถึงหลังปี ค.ศ. 1992
- กลไกอำนวยความสะดวกทางด้านสินเชื่อ 3 ประการ EMS นั้นจัดตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1970-1972 และมีการเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1979 กลไกต่าง ๆ ได้กำหนดการให้สินเชื่อในลักษณะต่าง ๆ กัน อาทิ ในกรณีที่ธนาคารกลางของชาติสมาชิกจะต้องเข้าแทรกแซงแต่ไม่มีจำนวนเงินตรา ต่างประเทศที่เพียงพอ ธนาคารกลางจะได้รับเงินช่วยระยะสั้นจากกองทุน EMCF นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้มีการให้เงินตราระหว่างประเทศระหว่างธนาคารเพื่อ เป็นความช่วยเหลือในระยะสั้น รวมทั้งมีการให้ความช่วยเหลือระยะกลางระหว่งชาติสมาชิกอีกด้วย สินเชื่อและอัตราของสินเชื่อ
พัฒนาการและการประเมินบทบาทของ EMS
ในปัจจุบัน ระบบการเงินยุโรปถือเป็นศูนย์กลางของนโยบายความร่วมมือทางการเงินและการ ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้มีความพยายามอยู่เสมอที่จะพัฒนา EMS ไปสู่การประกาศใช้เงินสกุลร่วมของประชาคมยุโรปแต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก ตกต่ำในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ประกอบกับเยอรมนีเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากในการรวม เยอรมนีตะวันออก (การรวมเยอรมนีนำมาซึ่งการขยายจำนวนหนี้สาธารณะของเยอรมนีตะวันตกซึ่งมีผล ให้ค่าเงินมาร์กอ่อนตัวลง) ส่งผลให้การประสานนโยบายด้านเศรษฐกิจการคลังและดอกเบี้ยระหว่างชาติสมาชิก โดยเฉพาะเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อความเชื่อมั่นทางตลาดในค่าเงินอีซียูลดลง แรงกดดันของนักเก็งกำไรที่มีต่อสกุลเงินที่อาจต้องลดค่า เช่น เงินฟรังค์ หรือเงินลีร์ ก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้ EMS ต้องประสบกับวิกฤติการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุด ดังนั้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 บรรดารัฐมนตรีกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของชาติสมาชิกจึงตกลงที่ จะขยายกรอบอัตราห่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นมากกว่าหรือน้อยกว่าไม่ เกินร้อยละ 15 เมื่อเป็นเช่นนี้สกุลเงินของชาติสมาชิกจึงมีอิสระในการดำเนินการต่าง ๆ มากขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยที่ยังไม่ได้ยกเลิกกลไกความร่วมมือของ EMS และแม้ว่าการหันกลับไปใช้กรอบอัตราห่างที่แคบขึ้นจะไม่ต้องอาศัยการตัดสินใจ ทางการเมืองก็ตาม แต่ก็คงไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
รัฐสภายุโรป
(The European Parliament)
สนธิสัญญาที่ให้อำนาจทางกฎหมาย : ขอบเขตอำนาจทางกฎหมายที่ปรากฏในสนธิสัญญา ได้แก่ มาตรา 137-144, 158 และ 189b ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป (The EC Treaty)
องค์ประกอบ : รับสภายุโรป ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 626 คน ซึ่งมาจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 15 ประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทางการเมืองกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม
อำนาจและหน้าที่ของรัฐสภายุโรป
รัฐสภายุโรปมีอำนาจดังต่อไปนี้
- ให้คำปรึกษาและควบคุมการทำงานของสหภาพยุโรป (มาตรา 137)
- ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจคณะกรรมาธิการยุโรป (มาตรา 144)
- สิทธิเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจของสหภาพยุโรปในเรื่องต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายของสหภาพยุโรปประเภทไม่จำเป็น (Non-Compulsoy Expendit) ในงบประมาณของสหภาพยุโรป (มาตรา 203 ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป)
- การรับสมาชิกใหม่และการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ (มาตรา 238 ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป มาตรา N และมาตรา O ของสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป)
- สิทธิในการเข้าร่วมในกระบวนการบัญญัติกฎหมายของสหภาพยุโรปโดย
- การเป็นที่ปรึกษา (มาตรา 43, 100 และ 130s ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป)
- เข้าร่วมในกระบวนการร่วมมือ (Cooperation Procedure) (มาตรา 189c ของสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรป)
- ใช้สิทธิในการไถ่ถามกรรมาธิการยุโรป (มาตรา 140)
- มีส่วนร่วมในกรอบความร่วมมือที่อยู่นอกเขตสนธิสัญญา อาทิเช่น
- การรับทราบข้อมูลในการเจรจาจัดตั้งข้อตกลงว่าด้วยการค้าและการมี ความสัมพันธ์ในเชิงการรวมกลุ่ม (Trade and Association Agreements) ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศที่สาม
- สิทธิในการชักถามผู้ดำรงตำแหน่งประธานของนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง (CFSP Presidency)
- การเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการในกระบวนการนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป
- อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป (มาตรา 158)
- สิทธิในการร่วมตัดสินใจ (Co-Decision) ในการบัญญัติกฎหมายบางประการ (มาตรา189b)
- สิทธิในการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ (Ombudsman)
กระบวนการลงคะแนนเสียงของรัฐสภายุโรป
ในทางทฤษฎีและตามกฎแล้ว การลงคะแนนเสียงของรัฐสภายุโรปต้องเป็นไปในการลงคะแนนเสียงข้างมากแบบปกติ (Simple Majority) แต่ในเรื่องที่สำคัญ อาทิเช่น การลงมติไม่ไว้ว่างใจคณะกรรมาธิการยุโรปหรือการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ แล้ว การลงคะแนนเสียงจะต้องเป็นไปตามวิธีต่างๆ ตามที่สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมยุโรปได้ระบุไว้
บทบาทและการดำเนินงาน
รัฐสภายุโรปเป็นสถาบันในรูปแบบรัฐสภาในสหภาพยุโรป โดยพัฒนามาจากสมัชชาของประคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ( The Common Assembly of the European Coal and Steel Community) ต่อมาในปี ค.ศ.1979 การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปได้เปลี่ยนจากการเลือกตั้งทางอ้อมมาเป็นการ เลือกตั้งโดยตรงจากพลเมืองในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรก
บทบาทของรัฐสภายุโรปนั้น แต่เดิมถูกจำกัดให้มีหน้าที่เพียงเป็นที่ปรึกษาของคณะมนตรีของประชาคมยุโรป (Council of Ministers) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะมนตรีแห่ง
การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
(Intergovernmental Conference-IGC)
การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป หรือ IGC คือ การประชุมคณะกรรมการพิเศษที่ประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐบาลประเทศสมาชิกของ ประชาคม/สหภาพยุโรปทุกประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาของ ประชาคม/สหภาพยุโรป ตามสนธิสัญญาแห่งโรมเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (The Rome Treaty establishing the European Economic Community) และย้ำโดยมาตรา N ของสนธิสัญญาของประชาคม/สหภาพยุโรปไว้ว่า จะต้องอาศัยกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ ขั้นตอนแรก ประเทศสมาชิกหรือคณะกรรมาธิการยุโรป เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาต่อที่ประชุมคณะมนตรีแห่งประชาคม/สหภาพ ยุโรป (Council of Ministers/ Council the European union) ขั้นตอนต่อมา คณะมนตรีทำการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว โดยมีการหารือร่วมกันกับรัฐสภายุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรปตามความเหมาะสม จากนั้นคณะมนตรีก็จะลงมติให้มีการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของ ประชาคม/สหภาพยุโรป ในการประชุม IGC นั้น บรรดาผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมจะทำการเจรจาเพื่อยกร่างสนธิ สัญญาฉบับใหม่ โดยการตัดสินใจใดๆ ในการจัดทำร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ จะต้องอาศัยมติอย่างเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกเท่านั้น เมื่อร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาฉบับเดิมได้ รับมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากที่ประชุมสุดยอดผู้นำรัฐบาลประเทศสมาชิก ของสหภาพยุโรป แล้วก็จะมีการลงนามในร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่โดยประเทศสมาชิก และมีการนำสนธิสัญญาดังกล่าวไปให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศให้สัตยาบันตาม กระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของตน หลังจากที่ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันสนธิสัญญาจนครบทุกประเทศแล้ว สนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ จึงจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์
นับตั้งแต่มีการจัดตั้งประชาคมยุโรปใน ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาของประชาคมยุโรปเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง โดยอาศัยการประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกเป็นกระบวนการในการจัดทำทั้ง สิ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำสนธิสัญญารวมประชาคม (The Merger Treaty) ค.ศ. 1965 หรือการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาแห่งโรมใน ค.ศ. 1970 และ 1975 เพื่อสถาปนาแหล่งรายได้ของประชาคมยุโรป รวมทั้งเพิ่มอำนาจให้แก่รัฐสภายุโรปในด้านการจัดงบประมาณของประชาคมยุโรป เป็นต้น อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่การประชุมเพื่อจัดทำสนธิสัญญาจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรป หรือ “กฎหมายยุโรปตลาดเดียว” (The Single European Act) ใน ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา การประชุม IGC เพื่อจัดทำร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ของประชาคม/สหภาพยุโรปก็ได้รับความสำคัญทาง การเมืองมาโดยตลอด ฉะนั้นในการทำสนธิสัญญามาสทริกท์ไม่เพียงแต่ต้องผ่านกระบวนการประชุม IGC อันยาวนานเท่านั้น หากแต่ยังมีการระบุถึงการจัดประชุม IGC เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาของสหภาพยุโรปไว้ในมาตรา N อีกด้วย ด้วยเหตุนั้น สนธิสัญญาฉบับต่อ ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam Treaty) ค.ศ. 1997 หรือ สนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) ค.ศ. 2001 ก็ตามจะต้องผ่านกระบวนการประชุม IGC ทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากสนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นการแก้ไขสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคม/สหภาพยุโรปครั้งสำคัญที่มีการ เปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาฉบับเดิมอย่างกว้างขวางครอบคลุมนั่นเอง ที่สำคัญ นับตั้งแต่การจัดทำสนธิสัญญาจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรปเป็นต้นมา การประชุม IGC เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาของประชาคม/สหภาพยุโรปได้กลายเป็นเวทีสำคัญใน การพัฒนากระบวนการรวมยุโรป และการวางโครงสร้างของประชาคม/สหภาพยุโรปในอนาคต ทำให้การจัดการประชุม IGC ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความต้องการของประเทศสมาชิกสหภาพในยุโรป ที่จะให้มีการปฏิรูปกลไกต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปไปโดยปริยาย
แต่เดิมไม่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะให้มีการ ประชุม IGC ในแต่ละครั้งเมื่อใด จนกระทั่งสนธิสัญญาให้มีการจัดประชุม IGC ใน ค.ศ. 1996 เพื่อทำการพิจารณาทบทวนและแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปหลังจาก นั้นเป็นต้นมา สนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป คือ สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม และสนธิสัญญานีซก็จะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าให้มีการประชุมIGC เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเดิมปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาฉบับนั้น ๆ ด้วย
พััชชารัตน์ คำภานุ 5523240027
ข้อดี1)มีอำนาจในการต่อรองการค้ากลับ กลุ่ม AFTA กับกลุ่มต่างๆในโลกได้ง่าย 2)เพิ่มอำนาจการซื้อในยุโรป 3)ทำให้เกิดความมั่นคงทั้งทางด้านทหารและเศรษฐกิจ 4)ลดความสับสนในเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินในยุโรป
ข้อเสีย 1)ประเทศแต่ละประเทศมีนโยบายการเงินไม่เหมือนกัน แต่ตอนหลังพยายามควบคุมให้เหมือนกัน แต่ทำไม่ได้เนื่องจาก บางประเทศ GDP แย่กว่าบางประเทศ เช่น เยอรมัน กับ กรีซ เมื่อเปรียบเทียบ GDP ต่างกันเยอะ 2)นโยบายการคลังจะต้องถูกควบคุม ทำให้แต่ละประเทศไม่มีอิสระในการดำเนินงาน 3)ต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เท่ากัน ทุกประเทศ(ทำได้ยากมาก) 4)ต้อิงมีทุนสำรองในระดับที่เหมาะสมกับคลังในยุโรป ซึ่งบางประเทศตอนนี้เงินไม่มี
ข้อเสีย 1)ประเทศแต่ละประเทศมีนโยบายการเงินไม่เหมือนกัน แต่ตอนหลังพยายามควบคุมให้เหมือนกัน แต่ทำไม่ได้เนื่องจาก บางประเทศ GDP แย่กว่าบางประเทศ เช่น เยอรมัน กับ กรีซ เมื่อเปรียบเทียบ GDP ต่างกันเยอะ 2)นโยบายการคลังจะต้องถูกควบคุม ทำให้แต่ละประเทศไม่มีอิสระในการดำเนินงาน 3)ต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เท่ากัน ทุกประเทศ(ทำได้ยากมาก) 4)ต้อิงมีทุนสำรองในระดับที่เหมาะสมกับคลังในยุโรป ซึ่งบางประเทศตอนนี้เงินไม่มี
พััชชารัตน์ คำภานุ 5523240027
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น